วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ศึกชิง "ช้างแก้ว, นางแก้ว, คัมภีร์จักรพรรดิ และพระแก้วมรกต"

มีประวัติศาสตร์อีกช่วงหนึ่งที่น่าสนใจ ควรศึกษามากคือ ช่วงกรุงศรีอยุธยาล่มสลาย ซึ่งในไทยอาจหาความจริงได้ยาก เพราะเป็นความพ่ายแพ้ของไทย ท่านควรหาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ประเทศเพื่อนบ้านด้วยนะครับ เอาละ เพื่อไม่ให้เสียเวลา อยากสรุปว่า มันคือ "ศึกชิงความเป็นเจ้าจักรพรรดิ" นั่นเอง


เริ่มจาก "ศึกชิงคัมภีร์จักรพรรดิ์"
หรือ คัมภีร์สุวรรณโคมคำ ที่ตกทอดสู่อาณาจักรล้านนา เดิมยุคนั้น "พระไชยเชษฐาธิราช" ทรงปกครองอยู่ (ทรงมีเชื้อสายล้านช้าง แต่เพราะล้านนาแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวาย จึงถูกเชิญมาปกครองล้านนาก่อน) เมื่อล้านนามีผู้เหมาะสมดูแลแล้ว ท่านจากไป ไม่นานนัก บุเรงนองก็ยกทัพมาตี และคาดว่า บุเรงนองน่าจะได้ "คัมภีร์สุวรรณโคมคำ" ไปด้วย ในขณะที่พระไชยเชษฐาธิราช ทรงอัญเชิญ "พระแก้วมรกต" กลับไปยังเมืองล้านช้าง (ลาว) ต่อมา เมื่อทรงออกจากเมือง บุเรงนองก็ถือโอกาสยกทัพไปตี ทำให้ท่านต้องย้ายเมืองไปอยู่ที่ "เวียงจันทร์" ซึ่งเป็นเมืองใหม่ของล้านช้าง (ลาว) ในขณะนั้น

ต่อมาก็ศึกชิง "ช้างเผือก"
ซึ่งเดิมทีเป็นของพระมหาจักรพรรดิ กษัตริย์อโยธยา ท่านมีช้างเยอะเป็นร้อยๆ และช้างเผือกอีกมากมาย ได้รับนามว่า "พระเจ้าช้างเผือก" อีกนามหนึ่ง ต่อมาบุเรงนองขอช้างเผือกเพื่ออ้างเป็นเหตุมาทำสงคราม  พระมหาจักรพรรดิ ไม่ให้ จึงเป็นเหตุให้บุเรงนองยกทัพมาตีเรื่อยๆ จนชนะแล้วได้เมืองอโยธยาในที่สุดไป อนึ่ง ตามตำราพระจักรพรรดิ จะทรงมี "ช้างแก้ว" ซึ่งก็คือ "ช้างเผือก" ในความหมายของคนยุคนั้น ดังนั้น การมีช้างเผือก จึงหมายถึงความอยากเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ หรืออยากขยายอิทธิพลยึดเมืองคนอื่น ทั้งนามของกษัตริย์อโยธยาก็มีนามว่า "พระมหาจักรพรรดิ" ยิ่งทำให้พม่าระแวงแน่นอน

ต่อมาก็ศึกชิง "นางแก้ว"
ซึ่งก็คือ "พระเทพกษัตรี" พระราชธิดาของพระมหาจักรพรรดิและพระสุริโยทัย ซึ่งในยุคนั้น พระสุริโยทัย ทรงสละชีพบนช้างอย่างกล้าหาญ ทำให้ต่างก็ชื่นชมในพระเกียรติคุณของท่าน ดังนั้น พระราชธิดาจึงตกเป็นที่ต้องตาต้องใจของกษัตริย์ทั้งหลาย เดิมทีพระไชยเชษฐาธิราช สู่ขอต่อพระมหาจักรพรรดิก่อน แต่ถูกชิงตัวโดยบุเรงนองไประหว่างทาง (เดิมท่านป่วย จึงจะให้อีกองค์ไปแทน พอพระไชยเชษฐาธิราชรู้ก็ส่งคืน ปีต่อมา ท่านจึงส่งพระเทพกษัตรีไปให้) สุดท้าย พระเทพกษัตรีจึงต้องไปอยู่พม่าแทน ซึ่งหากว่าส่งพระเทพกษัตรีได้สำเร็จ อโยธยาและล้านช้างก็จะผูกสัมพันธไมตรีกันได้อยู่แล้ว

บุคคลสำคัญที่น่าสนใจคือ

๑. พระมหาจักรพรรดิ ซึ่งได้ครอบครองทั้ง ช้างแก้ว, นางแก้ว อันเป็นสองสิ่งในเจ็ดสิ่งที่เป็นสมบัติของพระมหาจักรพรรดิ ประกอบกับพระนามยิ่งทำให้กษัตริย์รอบข้าง ระแวงว่าจะทรงแผ่ขยายอิทธิพล บทบาทของพระองค์ไม่โดดเด่นเท่าพระสุริโยทัย ที่ยอมออกรบไปสละชีพแทนพระมหาจักรพรรดิ ยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของท่านแย่ลง เหมือนกษัตริย์ที่อ่อนแอ อาศัยการ "ยื้อเวลา" อยู่ต่อไปวันๆ รอวันที่จะล่มสลายเท่านั้นเอง ดังนั้น ท่านจึงมีความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพียงแค่ "ในนาม" เท่านั้นเอง

๒. พระไชยเชษฐาธิราช (ลาว) ซึ่งได้ครอบครองพระแก้วมรกต (จากล้านนา) อันเป็นเหมือนองค์แทนของพระเจ้าจักรพรรดิในตัว ท่านผู้นี้ ไม่ได้ใช้่สงครามยึดบ้านเมืองใคร แต่ด้วย "บารมี" ของท่าน ทางล้านนาถึงกับอัญเชิญท่านไปเป็นกษัตริย์ ต่อมา ทางล้านช้างมีเรื่องกันอีก ก็เชิญท่านไปเป็นกษัตริย์อีก เรียกได้ว่า "ท่านได้อำนาจด้วยบารมีล้วนๆ" เลยทีเดียว ภายหลังท่านตั้งเมืองใหม่คือเวียงจันทร์ ทำให้เมืองที่ท่านเคยปกครองทั้งหมดคือ ๓ เมือง ได้แก่ ล้านนา, ล้านช้าง (เก่า), ล้านช้าง (ใหม่)

๓. พระธรรมราชา ซึ่งเป็นพระราชบิดาของพระนเรศวร ซึ่งไม่ลงรอยกับพระมหาจักรพรรดิ เมื่อถูกพม่าตีแตกก็ขึ้นกับพม่าไป รอให้พม่ามายึดเมืองอโยธยาแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งจากพม่าเป็นกษัตริย์อโยธยาต่อ แบบ "หุ่นเชิดพม่า" เป็นเมืองขึ้นของพม่า คาดว่าท่านตั้งใจจะย้ายเมืองหลวงมาที่พิษณุโลก และปล่อยให้อโยธยาล่มลงไปเอง เพื่อให้เป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ที่จะประสานระหว่างเมืองอโยธยาและล้านนาได้ ภายหลัง ก็ได้พระนเรศวร (พระราชบุตร) สานต่องาน ชนะสงครามประกาศอิสรภาพ ไม่ขึ้นแก่พม่า

๔. พระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเป็นกษัตริย์พม่าที่ยึดครองอโยธยาได้สำเร็จ อนึ่ง บุเรงนองเองก็เกรงบารมีของพระไชยเชษฐาธิราชบ้างเหมือนกัน แม้จะชนะได้ ก็ด้วยเล่ห์ เช่น อาศัยจังหวะที่ท่านไม่อยู่ในเมือง บุกโจมตี จึงชนะ หรืออาศัย "พระธรรมราชา" ขัดขวางพระไชยเชษฐาธิราชแทนตนเอง ในยุคนั้น เรียกว่าอยู่ในยุคสงคราม บุเรงนองนับว่าเป็นหนึ่งด้านการทหาร แต่ด้านการปกครอง ไม่อาจเทียบพระไชยเชษฐาธิราชได้ แม้ได้ยึดเมืองผู้อื่นก็ด้วยการเข่นฆ่า ไม่ต่างจากโจร (ซึ่งพระไชยเชษฐาธิราช ไม่มีแบบนี้เลย)


หากจะเปรียบเทียบคนทั้งสี่แล้ว นับว่า "บุเรงนอง" ประสบความสำเร็จสูงสุด แต่ความสำเร็จของเขาก็มาได้ด้วย "การเข่นฆ่า" และการก่อกรรมทำเข็ญเท่านั้น ในขณะที่พระไชบเชษฐาธิราช กลับประสบความสำเร็จได้ด้วย "บารมีล้วนๆ" เช่น การได้ครองอำนาจ ก็มาจากผู้อื่นอัญเชิญท่าน มิได้ใช้กำลังยึดครองบ้านเมืองผู้ใดเลย ส่วนอีกสองท่านคือ พระมหาจักรพรรดิ เรียกได้ว่า "ล้มเหลว" ทั้งทางด้านการปกครองและการทหาร เพราะไม่อาจปกครองในคนทั้งหลายรวมใจเป็นหนึ่งเดียวได้ทั้งยังแพ้สงครามต่อบุเรงนองอีก ส่วน "พระธรรมราชา" ก็นับว่าประสบความสำเร็จครึ่งหนึ่ง เมื่อได้พระนเรศวรมาสานต่องาน ทำให้ได้อำนาจมาครองได้ในที่สุด (หากไม่ปล่อยให้อโยธยาล่มสลาย เกรงว่าท่านคงไม่ได้อำนาจมาครอง ด้วยพระมหาจักรพรรดิมีรัชทายาทอยู่แล้ว) ซึ่งความสำเร็จของพระธรรมราชานั้น ก็ไม่ได้เกิดจากการใช้กำลังทหารเข้ายึดครองอำนาจของกรุงอโยธยาแต่อย่างใด ดังนั้น ท่านจึงไม่ได้ชื่อว่าเป็นกบฏ (ก่อนหน้านั้นมีหลายคนก่อการกบฏ เช่น แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ เป็นต้น) แต่ท่านอาศัยความพ่ายแพ้ต่อพม่าเป็นประโยชน์  เพื่อยืมมือพม่า ล้มอำนาจของอโยธยาลง ก่อนจะได้อำนาจมาครองไว้ในมือ นั่นเอง


ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ มีบางส่วนคล้ายกับสถานการณ์ปัจจุบันนะครับ ลองดูให้ดีๆ จะเ็ห็นเอง



วันศุกร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การปฏิวัติประชาธิปไตย และผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม จูเลียส ซีซาร์, ออกัสตัส ซีซาร์, มาค แอนโทนี่

ประวัติศาสตร์โลกที่น่าสนใจมากช่วงหนึ่งคือ การเกิดขึ้นของ "จักรวรรดิโรมัน"


ซึ่งเกิดจากการใช้สงครามยึดเมืองหลายๆ เมืองในยุโรป และส่งผลให้ยุโรปหลายประเทศมีวัฒนธรรมร่วมกัน คือ วัฒนธรรมของโรมัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจาก "จักรวรรดิกรีก" ซึ่งกำลังล่มสลายลง ไปสู่จักรวรรดิโรมัน สิ่งหนึ่งที่ถูกเปลี่ยนตามไปด้วยคือ "ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย" ซึ่ง เดิมเป็นการปกครองของกรีก และสืบทอดมาถึงโรมันด้วยบางส่วน คือ การประชุมโหวตความคิดเห็นร่วมกัน ของกรีกจะเริ่มต้นจากประชาชนทุกคนมาร่วมกัน แต่ของโรมันจะเหลือเพียง "รัฐสภา" ซึ่งประำกอบด้วยคณะผู้มีอำนาจทางการเมืองหลายคน เอาละ เรามาศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนี้แบบง่ายๆ กัน ก่อนที่แต่ละท่านจะไปหาข้อมูลที่ละเอียดขึ้นต่อไป ดังนี้


จูเลียส ซีซาร์ เป็นนักการทหารชั้นยอด ที่รบชนะทั่วไปหมด จึงสามารถยึดเมืองต่างๆ ซึ่งเคยเป็นของกรีกได้ ทำให้อาณาจักรโรมันแผ่ขยายครอบคลุมหลายประเทศในยุโรปปัจจุบัน ทว่า เขามีแนวคิดด้านการปกครองที่ต่างไปจากพวกกรีก คือ เขาต้องการรวมอำนาจไว้ที่คนๆ เดียว เพื่อความเป็นเอกภาพในการตัดสินใจ ทั้งยังประกาศว่าจะเผด็จการครองอำนาจตลอดชีิวิตอีกด้วย ส่งผลให้เขาถูก "ลอบฆ่า" โดยที่ยังไม่ได้อำนาจทางการเมืองอย่างสมบูรณ์ และยังไม่ได้เป็นกษัตริย์ อนึ่ง พึงเข้าใจว่ากษัตริย์ในยุึคนี้ ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เพราะทุกอย่างต้องผ่าน "รัฐสภา" และอำนาจของรัฐสภานี้เอง ที่ทำให้จูเลียส ซีซาร์ต้องถูกลอบฆ่า (เืพื่อไม่ให้เขาใช้ระบบเผด็จการ) ในระหว่างนั้น มีคนสำคัญอีกสองท่าน คือ ออกัสตัส ซีซาร์ และ มาค แอนโทนี่ ทั้งสองคนได้ร่วมกันเพื่อก่อตั้งอาณาจักรโรมันด้วย (แล้วแย่งอำนาจกันทีหลัง)


โดย มาค แอนโทนี่ ได้ร่วมรบเป็นแม่ทัพคนหนึ่งมาตลอด เรียกว่าคู่กันมากับจูเลียส ซีซาร์ แต่ไม่โดดเด่นเท่า (เนื่องจากทหารทั้งหลายต่างรวมใจอยู่ที่จูเลียส ซีซาร์คนเดียวเท่านั้น) มาค แอนโทนี่ แม้ไม่เก่งทางการสงครามเท่ากับจูเลียส ซีซาร์ แต่เรื่องการเมืองเขาทำได้ดีกว่า ดังนั้น เขาจึงไม่ถูกลอบฆ่าตาย และยังได้ร่วมกับออกัสตัส ซีซาร์ (ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมและทายาททางการเมืองของจูเลียส ซีซาร์) เพื่อจัดตั้งระบบ "สามผู้มีอำนาจ" ปกครองอาณาจักรโรมันร่วมกัน ซึ่งตอนนั้น ออกัสตัส ซีซาร์ ยังอายุไม่มาก คือ เป็นคนรุ่นลูกของมาค แอนโทนี่ และจูเลียส ซีซาร์ ดังนั้น จึงไม่อาจมีใครครองอำนาจเบ็ดเสร็จได้ ต่อมา มาค แอนโทนี่ ได้นำทัพช่วยเหลือ "ครีโอพัตรา" ให้อำนาจแก่ครีโอพัตรา ทั้งยังมีลูกด้วยกันด้วย (ซึ่งจูเลียส ซีซาร์ ก็มีลูกกับครีโอพัตรา) ภายหลัง เมื่อความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน จึงเกิดการแย่งชิงอำนาจกันขึ้นระหว่างมาค แอนโทนี่ และ ออกัสตัส ซีซาร์ ผลคือ มาค แทนโทนี่แพ้สงคราม แล้วฆ่าตัวตาย


ส่วน ออกัสตัส ซีซาร์ นั้น นับว่าทางการรบก็เก่ง ทางการเมืองก็เหนือกว่ามาค แอนโทนี่ สังเกตุจากอะไร? ก็ดูจากการทำทัพสู้กับมาค แอนโทนี่ แล้วได้ชัยชนะ ทั้งยังเดินเกมการเมืองอย่างระวังกว่าพ่อบุญธรรม จึงไม่ถูกลอบฆ่าเหมือนจูเลียส ซีซาร์ ในที่สุด "รัฐสภา" ก็ยอมรับอำนาจของออกัสตัส ซีซาร์ ทั้งยังยอมให้เขาเผด็จการได้ ยอมรับการรวบอำนาจของออกัสตัส ซีซาร์ด้วยการแต่งตั้งให้เขาด้วยนาม "ออกัสตัส"  อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเคารพสูงสุด" (ประมาณนั้น) ว่าให้มีอำนาจเหนือรัฐสภา คือ ไม่ต้องโหวตผ่านรัฐสภา ก็สามารถตัดสินใจได้เอง เรียกว่ามีอำนาจเผด็จการได้ นั่นเอง ดังนั้น ออกัสตัส ซีซาร์ จึงมีแนวคิดเผด็จการไม่ต่างจากจูเลียส ซีซาร์ เป็นทายาททางการเมืองโดยแท้ แต่เขาทำได้สำเร็จเพราะความสุขุมรอบคอบกว่า นั่นเอง ในที่สุด จักรวรรดิโรมันก็เกิดขึ้น โดยมีออกัสตัส ซีซาร์ เป็นปฐมกษัตริย์


ถามว่าทำไม ประวัติศาสตร์ยุโรปช่วงนี้น่าสนใจ คำตอบคือ


๑. มีการเปลี่ยนแนวคิดจากระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบกรีก เป็นระบบการปกครองแบบเผด็จการโดยกษัตริย์ ซึ่งส่งผลให้อาณาจักรโรมัน ยิ่งใหญ่เกรียงไกร และยึดครองอาณาจักรกรีกได้

๒. มีการรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่ง ทำให้เกิดวัฒนธรรมร่วมกันของประเทศยุโรปหลายประเทศ ตกทอดมาสู่ยุคปัจจุบัน เหมือนการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศอียู และการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศ AEC (อาเซียน)

๓. มีการล่มสลายลงของอาณาจักรกรีก ซึ่งใ้ช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งคล้ายกับเหตุการณ์ปัจจุบันที่ประเทศกลุ่มทุนนิยม กำลังเสื่อมอำนาจลง และประเทศกลุ่มสังคมนิยม กลับมีอำนาจมากขึ้น


สำหรับอาณาจักรโรมันนั้น ช่วงยุคกลาง ได้มีการตั้งเมืองหลวงแห่งที่สองขึ้นเรียกว่า "โรมันตะวันออก" โดยนักบุญที่ชื่อ "คอนสแตนติน" (ภายหลังได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งต้นราชวงศ์ไบแซนไทน์)   ผลคือ ทำให้เกิดการแตกแยกออกเป็นสองเมืองหลวงอย่างเงียบๆ (เมืองหลวงใหม่ หรือ โรมันตะวันออกแรกๆ จะไม่เปิดเผยตัวเองชัด จนเมื่อโรมันตะวันตกเสื่อมอำนาจจึงเผยตัวตน แสดงจุดยืนขึ้นมา) ซึ่งมีสิ่งที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กษัตริย์คอนสแตนติน ได้ยอมรับ "ศาสนาคริสตร์" ชาวคริสตร์ในเมืองนี้ ได้รับการยอมรับ ซึ่งเดิมชาวโรมันจะนับถือเทพเจ้ากรีก รับวัฒนธรรมมาจากกรีกก่อน ภายหลัง การปฏิวัตินี้เองทำให้เกิดผลทั้งสองทางคือ ทางการเมือง กลายเป็นเมืองหลวงใหม่และกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโรมันตะวันออกในที่สุด ทางวัฒนธรรม ทำให้โรมันตะวันออกมีวัฒนธรรม, ศาสนาของตัวเอง ต่างจากอาณาจักรกรีก นับว่าเป็นการวางรากฐานที่มั่นคงอย่างเงียบๆ และรอคอยโอกาสอย่างเหมาะสม เมื่อโรมันตะวันตกอ่อนแอลง ในที่สุด โรมันตะวันออกก็ยึดอำนาจไป เกิดเป็นอาณาจักรโรมันใหม่ขึ้นมา


ผมคิดว่า ประัวัติศาสตร์ยุโรปช่วงนี้ น่าจะให้คำตอบอะไรแก่ท่านบ้าง ถึงสถานการณ์ปัจจุบันครับ ...