วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ประวัติศาสตร์โลกยุคสมัยแห่งโลกาภิวัฒน์ครั้งที่หนึ่ง "กระแสโลกหนึ่งเดียวจากการล่าอาณานิคมของยุโรป"

หลายครั้ง เราศึกษาประวัติศาสตร์ทีละประเทศ แม้เราจะศึกษาประวัติศาสตร์โลก เราก็ยังแยกศึกษาทีละประเทศ ทีละยุค ทำให้ความเข้าใจต่อ "โลก" ของเรา มีมิติที่ไม่กว้างเท่าใดนัก บทความนี้ ผมจะสรุปให้สั้นๆ เพื่อให้ท่านเห็นภาพ "ทั้งโลก" ในยุคหนึ่งได้ง่ายๆ ส่วนรายละเอียดนั้น ท่านสามารถศึกษาได้เองต่อไป มันเป็นยุคสำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งของโลก ผมอยากจะเรียกว่า "ปฐมยุคแห่งการรวมโลก" ดังนี้


คือ ช่วงประมาณปี ๒,๔๐๐ หรือเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีที่แล้ว เป็นยุคของการล่าอาณานิคมครั้งแรกของชาวยุโรป อันส่งผลให้ประเทศต่างๆ ในโลก ได้รู้จักกันมากขึ้น แน่นอนว่า "มันเป็นครั้งแรก" เราจะหวังให้มันเป็นไปด้วยดี โรยด้วยกลีบกุหลาบ ย่อมเป็นไปไม่ได้ มันจึงถูกขับเคลื่อนด้วย "การล่าอาณานิคม" นั่นเอง ซึ่งยุคนี้ ผู้ล่าคือ "ยุโรป" ยังไม่มีอเมริกาเข้ามาร่วมด้วย (อเมริกาเพิ่่งก่อตั้งใหม่ ยังไม่มั่นคง) ผมอยากให้ท่านมองดูโลกผ่านประเทศต่างๆ โดยมีบุคคลสำคัญ ๓ คน ดังนี้


๑. ลินคอล์นแห่งอเมริกา
๒. รัชกาลที่ ๔ แห่งไทย
๓. เรียวมะแห่งญี่ปุ่น


ทั้งสามคนนี้ เ็ป็นคนสำคัญที่เกิดในยุคเดียวกัน และเสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกันครับ ผมขอสรุปสั้นๆ คือ


๑. ลินคอล์น อยู่ในสถานการณ์ที่ประเทศเพิ่มเริ่มก่อตั้ง ไม่มีความมั่นคง ประเทศแตกแยกกำลังจะแบ่งเป็นประเทศใครประเทศมัน หลังชาวผิวขาวปลดอำนาจของชาวอินเดียนแดงได้ พวกเขาต่างอยากตั้งประเทศของตนขึ้น และไม่อาจรวมกันได้ ผลงานของลินคอล์นคือ ๑. รวมประเทศ ๒. เลิกทาสครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก ๓. ปลดแอกจากอังกฤษ เป็นเอกราชได้อย่างแท้จริง ไม่ถูกล่าเป็นอาณานิคม

๒. รัชกาลที่ ๔ แห่งไทย อยู่ในสถานการณ์ที่ประเทศได้รับการวางรากฐานมาอย่างดีครึ่งแรก ทำให้สามารถก้าวไปสู่ระดับโลกได้ด้วย "วิธีทางการฑูต" ซึ่งสมัยนั้น ยังไม่ค่อยมี และผ่านการล่าอาณานิคมมาได้ โดยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นด้วยการ "ยอมเสียสละดินแดนบางส่วน" นับว่าเป็นบทบาทสำคัญมากในเรื่อง "การฑูตระดับโลก" ไม่มีการใช้กำลังทหารเข้าสู้ (ของอเมริกามีการใช้กำลังทหารรวมประเทศ)

๓. เรียวมะแห่งญี่ปุ่น อยู่ในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังย่ำแย่ถึงที่สุดจนถึงขั้นอำนาจเก่าล่มสลายลง ด้วยเพราะการปกครองที่ย่ำแย่ บวกกับการล่าอาณานิคม บีบให้ประเทศต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง เรียวมะเกิดเป็นซามูไรชั้นล่าง หรือก็คือ "คนของทางการที่มีระดับต่ำที่สุด" ไม่ได้ไต่เต้าให้สูงขึ้น แต่กระทำการณ์โดยอิสระ ไม่มีการประกาศแนวคิด "เสรีนิยม" แต่ขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนยุคสมัย ไปสู่ยุคสมัยใหม่


ผมอยากให้เราดูบทบาทของท่านทั้งสามนี้ เปรียบเทียบกันครับ แต่เราจะดู "บทบาทในระดับโลก" นะครับ เช่น ลินคอล์นเลิกทาสเป็นครั้งแรก เป็นผู้นำกระแสความคิดเรื่อง "เสรีนิยม" ของโลกทีเดียว จากนั้นมาจึงเริ่มมีประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศที่ได้รับอิทธิพลความคิดนี้ และทำการเลิกทาสตามๆ กันมา ซึ่งถ้าดูบทบาทของเรียวมะ ก็คล้ายกัน คือ เรียวมะกระทำการณ์อย่างอิสระ เพียงแต่ไม่ได้ประกาศ และยังไม่เป็นผู้นำทางความคิดของโลกเรื่อง "เสรีนิยม" ได้ แต่ทั้งสามท่านก็ผ่านวิกฤติ "การล่าอาณานิคม" มาได้ทั้งหมด ด้วยวิธีที่ต่างกัน ลินคอล์นใช้ทั้งการฑูตและการทหารคู่กัน โดยใช้การทหารภายในประเทศก่อน ให้รวมกันเป็นหนึ่ง เมื่อเป็นหนึ่งดีแล้วก็มีอำนาจมากพอที่จะใช้การฑูตได้อย่างมีพลัง ทำให้ไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพวกล่าอาณานิคม ส่วนรัชกาลที่ ๔ ของไทย จะใช้่การฑูตเป็นหลัก แทบไม่มีการใช้กำลังทหารเลย แต่ส่งผลให้ต้องเสียดินแดนบางส่วน นับว่าเป็น "ตัวอย่าง" หรือ "ผู้นำในด้านการฑูตระดับโลก" ในยุคนั้นได้ทีเดียวครับ (แต่เพราะไม่มีอำนาจทางการทหารหนุนหลัง ทำให้การฑูตไม่มีพลังเหมือนในประเทศอเมริกา) ส่วนเรียวมะ เป็นตัวอย่างของโลกในเรื่อง "การปฏิวัติ-ปฏิรูป" จากโครงสร้างรากฐานเพื่อวางระบบใหม่ สร้างอนาคตใหม่ทั้งหมดครับ ผลต่อมาคือ ประเทศญีุ่ปุ่นที่เกิดใหม่ แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ญีุ่ปุ่นที่เคยล้าหลังกว่าประเทศไทย ก็กลายเป็นทันสมัยไม่ต่างจากประเทศอเมริกา แม้แนวคิดด้านการปฏิวัติ-ปฏิรูปของเขา อาจไม่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก เพราะเขาได้ถ่ายทอดต่อให้คนภายในประเทศที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการ แต่ผลงานของเขาก็เป็นที่ประจักษ์ชัดและเป็นแบบอย่างในการปฏิวัติและการปฏิรูปของโลกได้ดีอย่างหนึ่งในยุคสมัยนั้นเลยครับ






0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น