วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปัตตานี "ศูนย์กลางแห่งไฟใต้" นั่นหรือคือนครรัฐลังกาสุกะที่ยิ่งใหญ่ในอดีต?

เดิมทีก็สงสัยครับว่าเพราะเหตุใด ไฟใต้จึงรุนแรงนัก และมีเป้าประสงค์เรื่องการแบ่งแยกดินแดน แต่พอได้อ่านประวัติศาสตร์แล้วต้องตกตะลึงทันทีว่าเพราะเหตุใดจึงมีปัญหาแบ่งแยกดินแดนได้อย่างนั้น เพราะอะไรหรือครับ? เพราะ "ปัตตานี" วันนี้ ในอดีตคือ "นครรัฐลังกาสุกะ" ที่ยิ่งใหญ่มากในแถบนี้เลยน่ะสิครับ ยิ่งใหญ่ขนาดไหน? ก็คือ "เมืองท่าที่เชื่อมโยงระหว่างเมืองฮั่นและโรมัน" นั่นเอง (หากข้อมูลผิดพลาดต้่องขออภัย) มีประวัติความเป็นมาที่ชัดเจน และมีบันทึกโบราณปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์จีนเสียด้วยสิ เอาง่ายๆ ครับ สมมุติว่า จังหวัดนี้ แบ่งแยกดินแดนไป เพราะถูกหลอกให้ตัดขาดกับประเทศไทย เป็นแค่นครรัฐเล็กๆ ขาดกำลังทหารสนับสนุน ไฉนเลยจะรอดจากการถูกกลืนด้วยประเทศที่ใหญ่กว่าได้ครับ? ไม่มีทางเลย ถ้านครรัฐลังกาสุกะที่ยิ่งใหญ่เป็นของมาเลเซีย และอาณาจักรขอมที่ยิ่งใหญ่ตกเป็นของกัมพูชาอีกที ไทยเราคงไม่มีที่จะอยู่แล้ว เพราะเราจะกลายเป็น "ขโมย" ที่มายึดเอาแผ่นดินเขาไปทีหลัง (เรายึดแต่ประวัติศาสตร์ที่นับจากสมัยสุโขทัย ในขณะที่เมืองโบราณก่อนนั้นมีมากมาย) นั่นเอง เอาละ ผมไปเจอหนังเรื่องหนึ่งชื่อ Clash of empires เป็นหนังเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่นี่พอดีเลยครับ ยังไม่ได้ดู แต่แนะนำให้ลองดูกันนะครับ ไม่ทราบว่าใครสร้างหนัง แต่ดูแล้ว ไม่ใช่คนไทยเรานะครับ ซึ่งมันอาจจะมีผลต่อ "ความเข้าใจของชาวโลก" ที่มีต่อประวัติศาสตร์ของผืนแผ่นดินนี้ครับ ว่าแท้จริงแล้ว เป็นของไทยหรือมาเลเซียกันแน่ (ในอนาคตที่อาจถูกบิดเบือน) เพราะดั้งเดิมเป็นพุทธนะครับ แต่ตอนนี้ กำลังกลายเป็นอิสลามไป หากเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของมาเลเซียเพราะศาสนาเหมือนกัน จะยุ่ง


นั่นหมายความว่า เราไม่ได้กำลังจะช่วงชิงกันแค่ดินแดนเสียแล้ว แต่เรากำลังตกอยู่ในบ่วงแห่งการแย่งชิง "ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่" พูดตรงๆ นะครับ ผมรู้สึกว่า "อาณาจักรขอมและพระเจ้าชัยวรมัน" ยิ่งใหญ่มาก พอมาอ่านประวัติศาสตร์ของ "นครรัฐลังกาสุกะ" อีกที โอโห มันยิ่งใหญ่มากๆ ครับ เพราะมันเก่าแก่มาก และโด่งดังเป็นที่รู้จักระดับโลกครับ มันคือ "ศูนย์กลางเมืองท่า" ที่เื่ชื่อมโยงระหว่างอาณาจักรจีนและอาณาจักรโรมัน สองซีกโลกตะวันออกและัตะวันตก มันสุดยอดมากครับ กลับมาดูอีกทีว่าเริ่มต้นแต่ยุคไหน คำตอบคือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 7 ครับ ก่อนเมืองตามพรลิงค์และศรีวิชัยทราวดี เสียอีก แถมไม่ใช่แค่เก่านะครับ ทั้งเก่าทั้งดัง ทั้งสำัคัญระดับโลกทีเดียว แถมมีอายุยาวนานมาถึง 1,400 ปี นานกว่าอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยารวมกันเสียอีก โอ้ว พระเจ้า สุดยอด อะไรจะขนาดนั้น ตอนนั้น มาเลเซียยังคงเป็นป่า ยังไม่พัฒนาขึ้นเป็นเมืองอะไรมากเลยมังครับ หรือถ้าจะมีเมือง ก็ไม่เจริญเป็นที่รู้จักขนาดนี้ ทว่า ทุกวันนี้ เรารู้จัก "ปัตตานี" แต่เพียงเรื่อง "ไฟใต้และความไม่สงบ" เท่านั้นเอง เราหาได้รู้เลยว่ามันมี ประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่และเก่าแก่ขนาดนี้มาก่อน ภาพลักษณ์ที่คนภายนอกเห็นมาตลอดก็คือ เป็นเมืองของชาวมุสลิม ก่อการร้าย มีแต่ความรุนแรง แต่กลับไม่มีเรื่องของความเป็นเมืองท่าศูนย์กลางที่เชื่อมโยง โลกตะวันตกและตะวันออกมาแ่ต่ครั้งโบราณ ซึ่งส่วนนี้ มันสำคัญมากครับ และที่สำคัญ ณ ที่แห่งนี้ เดิมทีเป็นพุทธศาสนามาก่อนครับ แต่เพราะกษัตริย์องค์หนึ่งได้เปลี่ยนมาเป็นมุสลิม เพราะป่วย จนต้องขอให้หมอมุสลิมรักษา แล้วต้องทำตามสัจจะเลยต้องเปลี่ยนเป็นมุสลิมทั้งหมด สุดท้าย สิ่งก่อสร้างและทุกอย่่างที่เป็นพุทธ ก็ถูกทำลายทั้งหมดครับ ไม่เช่นนั้นเราคงมีพุทธสถานโบราณไม่แพ้ "บุโรพุทโธ" แน่ๆ   (บุโรพุทโธ ของอินโดนีเซียนะครับ) และคงจะเป็นเพราะดินแดนแห่งนี้ มีคุณค่่าและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ขนาดนี้ ถึงได้เกิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดนขึ้นมากระมังครับ ซึ่งถ้าปัตตานี แยกตัวเป็นรัฐอิสระได้ ประวัติศาสตร์แห่งผืนแผ่นดิืนนี้ ที่เคยเป็นพุทธศาสนามาก่อน ก็คงต้องสูญไปอย่างแน่นอน ...




หมายเหตุ

อาณาจักรลังกาสุกะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อาณาจักรลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 7–11) อาณาจักรลังกาสุกะแห่งนี้ได้ตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 7 แล้วเจริญรุ่งเรืองในพุทธศตวรรษที่ 11 ขณะที่อาณาจักรฟูนันเริ่มเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรลังกาสุกะตั้งอยู่ทางใต้ของอาณาจักรตามพรลิงก์ในคาบสมุทรมลายู บริเวณมัสยิดแห่งกรือเซะ ในบริเวณที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างอำเภอเมืองปัตตานีกับอำเภอยะหริ่ง และบริเวณอำเภอยะรัง ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปัตตานี พวกชวาเรียก “นครกีรติกามา” มีอาณาเขตครอบคลุมถึงทางเหนือตะกั่วป่าและตรัง ทางใต้ตลอดแหลมมลายู ลังกาสุกะมีการติดต่อกับจีนใน พ.ศ. 1052 ตามจดหมายเหตุจีนระบุว่า
“เป็นเมืองที่มีกำแพงล้อมรอบ กษัตริย์ประทับอยู่บนกูบช้างมีหลังคาทำด้วยผ้าสีขาว แวดล้อมด้วยองครักษ์ที่มีท่าทางดุร้าย และทหารตีกลองถือธงสีต่าง ๆ ประชาชนทั้งชายหญิงไว้ผมปล่อยยาว ใส่เสื้อไม่มีแขน” อาณาจักรลังกาสุกะนี้ ถูกอาณาจักรฟูนันโจมตีในพุทธศตวรรษที่ 11 แล้วกลายเป็นเมืองขึ้นต่อมา

อาณาจักรโบราณ

ลังกาสุกะเป็นนครรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 รุ่งเรืองยาวนานถึง 1,400 ปี จึงเสื่อมสลายไป[1] ไม่ใช่เพราะถูกอำนาจใดเข้าตี หากแต่ทะเลถอยห่างตัวเมืองออกไปทุกที จนผู้คนพากันทิ้งเมือง ซ้ำโดนน้ำท่วมโคลนถมทับตัวเมืองแทบหมด เพิ่งขุดเจอซากไม่นานมานี่เอง เชื่อกันว่าคนในหมู่บ้านกาแลจินอ อ.เมืองปัตตานีปัจจุบันคือผู้สืบเชื้อสายชาวเมืองลังกาสุกะ ที่เป็นลูกครึ่งชาวจีนกับคนพื้นเมืองที่ต้องทิ้งเมืองเก่ามาอยู่ในปัตตานีเมื่อ 1,000 กว่าปีที่แล้ว
อาณาจักรโบราณยิ่งใหญ่ที่เชื่อว่ามีพื้นที่คลุมไปถึงตอนเหนือมาเลเซีย เพราะพบสิ่ง ก่อสร้างโบราณ แบบเดียวกับที่พบในปัตตานีแถวริมฝั่งแม่น้ำบูจังและปาดังลาวาส (ปากแม่น้ำลาวาส) ในรัฐเคดาห์ หนังสือเหล่านั้นเรียกอย่างจืดชืดไม่ดึงดูดใจสักนิดว่า "เมืองโบราณยะรัง" เพราะซากเมืองเก่าพบที่ อ.ยะรัง ทั้งที่มีความเก่าแก่รุ่งเรืองมาก่อน อาณาจักรศรีวิชัยและอาณาจักรทวาราวดีตั้ง 500 ปี ศรีวิชัยและทวาราวดีตั้งในพุทธศตวรรษที่ 12 ลังกาสุกะเป็นนครรัฐที่โลกตะวันตกตะวันออก รู้จักกันแล้ว ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เมืองโบราณยะรังจึงไม่ใช่เมืองเก่าธรรมดา หากแต่เป็นเมืองท่านครรัฐยิ่งใหญ่ สมัยโบราณเก๋ากึ๊กในภูมิภาคนี้โดยแท้
เมืองโบราณที่ กรมศิลปากร กำลังขุดแต่งอยู่ที่ อำเภอยะรัง ในขณะนี้คือ ศูนย์การปกครอง อาณาจักรลังกาสุกะ ในเมื่อบันทึก ชาวอินเดียและ ชาวอาหรับ ที่เรียกเมืองนี้ว่า "ลังกาสุกะ" กับบันทึก ของชาวจีนที่เรียก "หลาง หย่า ซุ่ย" ล้วนระบุทิศทางและ ที่ตั้งตรงกันหมด น.ส.พรทิพย์ พันธุโกวิท หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ โบราณคดี ผู้ควบคุมการขุดแต่งและ บูรณะมาตั้งแต่แรกถึง 16 ปี อธิบายว่า ปัตตานีวันนี้คือ ดินแดนเกิดใหม่ เมื่อทะเลถอย ห่างฝั่งออกไปทุกที ลังกาสุกะเลยกลายเป็น เมืองภายในแผ่นดิน อยู่ห่างชายฝั่งทะเล ในวันนี้เกือบ 25 กม. ชายฝั่งบริเวณท่าเรือใหญ่ครั้งโน้น ปัจจุบันนี้คือ คลองปาเละหมู่บ้านกาแลบูซา (ท่าเรือใหญ่) หมู่บ้านเทียระยา (หมู่บ้านเสากระโดงเรือ) ต.ตันหยงลูโละ อ.เมือง ปัตตานี
ร่องรอยทางโบราณคดี ชี้ให้เห็นว่ามีลักษณะเป็นเมืองเรียงกันถึง 3 เมืองด้วยกัน ได้แก่ เมืองที่กำลังขุดอยู่ที่บ้านวัด บ้านจาเละ และบ้านปราแว (พระราชวัง) อำเภอยะรัง บ้านปราแวอยู่ริมทะเล มีลักษณะ ค่ายคูประตูหอรบตามมุมเมือง คาดว่าน่าจะเป็นประชาคม 3 แห่ง ที่อยู่ร่วมกันมากกว่าเมือง โดยรวมแล้วพื้นที่ดังกล่าวนี้ พบร่องรอยทางโบราณคดีถึงกว่า 40 แห่ง ลงมือขุดไปเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ชิ้นใหญ่ ๆ ที่กำลังขุดอยู่เป็นศาสนสถานใน ศาสนาพราหมณ์และ พุทธศาสนา ทั้งพบคำจารึกภาษาปัลลวะอินเดียโบราณและภาษาสันสกฤตด้วย บ่งบอกอย่างเด่นชัด แรกเริ่มนั้นชาวลังกาสุกะนับถือศาสนาพราหมณ์ เปลี่ยนมาถือพุทธ แล้วเปลี่ยนมาเป็นอิสลามตามลำดับ
ลังกาสุกะเฟื่องเนื่องมาจากที่ตั้งเป็นกึ่งกลางเส้นทางค้าขายโลกตะวันตกและตะวันออก เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและศูนย์ค้าเครื่องเทศสินค้าสำคัญของภูมิภาคนี้ ที่ดังที่สุด ได้แก่ไม้หอม และกำยาน ซึ่งอินเดีย อาหรับยันยุโรปต่างต้องการอย่างมาก น่าเชื่อว่ากำยานชั้นดีที่สุดเป็นกำยานลังกาสุกะ เพราะเครื่องหอมทำจากกำยานที่โลกอาหรับ และชาติมุสลิมใช้อย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นเครื่องหอม ที่ไม่มีแอลกอฮอล์เจือปนไม่ผิด หลักทางศาสนาที่ชื่อว่า "ไซมีส เบนโซอีน" ที่ยังใช้กันมาจนทุกวันนี้ ลังกาสุกะเป็นท่าเรือ ส่งออกที่ใหญ่มาก
ลังกาสุกะอาจเป็นอาณาจักรเดียวในโลกที่ล่มสลายไปไม่ใช่เพราะการสงครามหรือโรคระบาด หากเกิดจากทะเลถอยห่างออกไปเรื่อย ๆ เมื่อไม่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม ผู้คนก็อพยพทิ้งบ้านทิ้งเมืองไปอยู่ที่อื่นกันหมด พร้อม ๆ กับอาณาจักรอื่นใกล้เคียงเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่


ศูนย์กลางอาณาจักรลังกาสุกะ

อาณาจักรลังกาสุกะเป็นอาณาจักรโบราณ มีศูนย์กลางตั้งอยู่บริเวณ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[3] มีอาณาเขตปกครองกว้างขวางครอบคลุมคาบสมุทรมลายูตอนล่างทั้งหมดโดยพัฒนามาจากเมืองท่าเล็กๆ ของชาวพื้นเมืองจนเติบโตเป็นรัฐและมีฐานะเป็นอาณาจักรมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นศูนย์กลางการค้าและศาสนา จนได้ล่มสลายไปในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ปัจจุบันปรากฏร่องรอยศาสนสถานประเภทสถูปเจดีย์ขนาดใหญ่ จำนวน 33 แห่ง ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร

จากตำนานและจดหมายเหตุ

จากตำนาน ไทรบุรี ปัตตานี กล่าวถึงเมืองลังกาสุกะ ของพระเจ้ามะโรงมหาวงศ์หรือราชามารงมหาวังสา ต่อมาคำว่าลังกาสุกะค่อย ๆ เลือนหายไป กลายเป็นคำว่าปัตตานีดารุสสาลามเข้ามาแทนที
จดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง (พ.ศ. 1045-1099) บันทึกไว้ว่าอาณาจักรลังกาสุกะ สถาปนาขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 7 มีอำนาจปกครองระหว่างสองฝั่งทะเล คือด้านตะวันตกจรดไทรบุรี และด้านตะวันออกที่ปัตตานีข้อความในจดหมายเหตุนี้สอดคล้องกับตำนานไทรบุรี ปัตตานี
ปอล วิดลีย์ (Paul Wheatly) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแหลมมาลายู มีความเห็นว่าตำนานไทรบุรี ฯมีลักษณะเหมือนเทพนิยาย แต่งขึ้นเมื่อชาวอินเดียเดินทางมาถึงหัวเมืองมาลายูราวพุทธศตวรรษที่ 6 และเขาแสดงความคิดเห็นไว้ว่า ลังกาสุกะ ไม่ควรไปซ้ำซ้อนกับไทรบุรีน่าจะอยู่ทางปัตตานีทั้งหมด
ดี.จี.อี. ฮอลล์ (D.G.E. Hall) ได้กล่าวถึงรัฐเก่าแก่สามรัฐในแหลมมาลายู คือรัฐหลังยะสิว (ลังกาสุกะ) ตันหม่าหลิง (ตามพรลิงก์ หรือนครศรีธรรมราช) ตักโกลา (ตะกั่วป่า) ต่อมารัฐทั้งสามนี้ตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรฟูนันซึ่งเป็นอาณาจักรที่มีกองเรือยิ่งใหญ่ อยู่ในทะเลจีนตอนใต้ เมื่อตกอยู่ใต้อำนาจแล้วก็รับเอาวัฒนธรรมต่างๆ มาจากอินเดีย
ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 11 อาณาจักรฟูนันเสื่อมสลายลง รัฐต่าง ๆ ที่ตกอยู่ใต้อิทธิพลก็แยกตัวเป็นอิสระ ลังกาสุกะภายใต้การนำของพระเจ้าภคทัตก็ฟื้นฟูอำนาจของตนเองได้อย่างรวดเร็ว
พุทธศตวรรษที่ 14-15 ลังกาสุกะกลับตกอยู่ใต้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย พระเจ้าราเชนทร์โจระที่ 1 แห่งอินเดีย ยกทัพเรือข้ามมายึดรัฐต่าง ๆของศรีวิชัย ลังกาสุกะก็พลอยถูกยึดไปด้วย ต่อมาอีกอาณาจักรมัชปาหิตแห่งชวากลับเข้ามามีอำนาจ และชื่อลังกาสุกะค่อยเลือนจางหายไปแสดงว่าอาณาจักรลังกาสุกะนั้นอยู่ที่ปัตตานีนี่เอง และต้องนับถือพุทธศาสนาด้วยเพราะเมื่อเกิดการขุดค้นขึ้นพบทั้งศาสนาฮินดูและพุทธศาสนา เช่น สถูปสำคัญในพระพุทธศาสนาที่อำเภอยะรัง ที่ได้บูรณะตกแต่งแล้วก็แสดงถึงดินแดนในพระพุทธศาสนา และลังกาสุกะต้องมีอายุประมาณ 1,500 ปีมาแล้ว นับว่าเก่าแก่มาก แต่พึ่งรู้จักกันจริงไม่กี่ปีมานี้

การเข้ามาของศาสนาอิสลาม

กล่าวคือ ประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 10 (ประมาณ พ.ศ. 1500 เศษ) ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่เข้าสู่ปัตตานีและปาหัง ก่อนที่จะเข้าสู่มาละกา ในช่วงนั้นกษัตริย์หรือสุลต่านเมืองปัตตานีล้มป่วย ไม่มีหมอในปัตตานีรักษาได้ เกิดการตีฆ้องร้องป่าวหาผู้รักษามีแขกปาซายจากสุมาตราชื่อเช็กสะอิ หรือ เช็กซาฟียิดดิน ได้ขันอาสามารักษาสุลต่านแต่ขอคำมั่นสัญญาว่าถ้ารักษาหายแล้ว พระองค์จะต้องเข้ารีดนับถือศาสนาอิสลาม เมื่อได้รักษาจนหายแต่เมื่อหายแล้วสุลต่านไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเลยป่วยหนักอีก กลับมารักษากันใหม่ขอคำสัญญากันอีกกลับไปกลับมาเช่นนี้ถึง 3 ครั้ง สุลต่านเลยต้องยอมเปลี่ยนศาสนามานับถือศาสนาอิสลามหมอผู้รักษาได้รับการแต่งตั้งเป็น ดาโต๊ะ สะรี ยารา ฟาเก้าฮ์ (ผู้รู้ทางศาสนายอดเยี่ยม)เมื่อเจ้าเมืองเปลี่ยนศาสนาใหม่ โอรส ธิดา ขุนนาง และชาวเมืองก็เริ่มเปลี่ยนศาสนาตามเป็นศาสนาอิสลามต่อจากนั้นก็เริ่มมีการทำลาย พระพุทธรูป พุทธสถาน เทวรูป และเทวาลัย อาณาจักรที่เคยนับถือพระพุทธศาสนาอยู่หลายปีจึงมีโบราณวัตถุทางพุทธศาสนาน้อยเต็มที หรือแทบจะไม่มีเลย ก็มีพบบ้างกันที่ยะรังเมืองโบราณ {อ้างอิง}

ราชทูตลังกาสุกะ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จีนที่จตุรัสเทียนอันเหมิน กรุงปักกิ่ง มีภาพปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุราชวงศ์เหลียง หรือเหลียงชู ของจีน (พ.ศ. 1045-พ.ศ. 1106) บุคคลในภาพชื่อ อชิตะ (จีนออกเสียงเป็น อาเซ่อตัว) เป็นราชทูตจากประเทศลังกาสุกะ (จีนออกเสียงเป็น หลังหยาสิ้ว บางแหล่งเรียก หลาง หย่า ซุ่ย) มีคำบรรยายภาพว่า "เป็นคนหัวหยิกหยอง น่ากลัว นุ่งผ้า โจงกระเบน ห่มสไบเฉียง สวมกำไลที่ข้อเท้าทั้งสอง ผิวค่อนข้างดำ" โดยเดินทางไปเยือนราชสำนักจีนในปี พ.ศ. 1058 สมัยพระเจ้าอู่ตี้ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์เหลียง ทางการจีนได้เขียนภาพ อาเซ่อตัว ไว้เป็นที่ระลึกพระเจ้าแผ่นดินแห่งลังกาสุกะในเวลานั้น ทรงพระนามว่า ผอเจี่ยต้าตัว หรือ ภัคทัตตเหลียงชู ซึ่งตรงกับรัชสมัย พระเจ้าภัคทัต (ประมาณพ.ศ. 1060)

2 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ได้ดูหนังจบแล้ว เป็นตำนานปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่
ที่ชื่อว่า "ลังกาสุกะ" (ชื่อเหมือนศรีลังกา ซะด้วยสิ? แสดงว่าดังมากๆ)
นามของปฐมกษัตริย์ชื่อว่า "มารอง" สอดคล้องกับชื่อประเทศ "มาเลเซีย"
โดยบังเอิญหรือเปล่าไม่ทราบ? ผมว่าคนไทยเราเริ่มศึกษาประวัติศาสตร์
ใหม่ได้แล้วมังครับ

Unknown กล่าวว่า...

รัฐเกดะห์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เกดะห์ หรือ ไทรบุรี (ภาษามลายู: Kedah; อักษรยาวี: قدح) มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอะมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร และประกอบด้วยพื้นที่ราบสำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี
เมืองหลวงของรัฐและเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อลอร์สตาร์ เมืองหลักๆ เมืองอื่นได้แก่ สุไหงปัตตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี

ประวัติศาสตร์

เกดะห์เป็นนครรัฐที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากหลักฐานที่ยังหลงเหลืออยู่บริเวณหุบเขาบูจัง ซึ่งเป็นร่องรอยการตั้งอยู่ของอาณาจักรฮินดู-พุทธ ในสมัยศตวรรษที่ 4 อาณาจักรแห่งนี้ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่ามากบนพื้นแผ่นดินมาเลเชีย และมีการสืบเชื้อสายปกครองดินแดนในแถบนี้เรื่อยมาจนถึงสมัยของ กษัตริย์ชื่อ มะโรง มหาวงศ์ ซึ่งพระองค์นับถือศาสนาฮินดู โดยราชวงศ์ของพระองค์ ปกครองเกดะห์เรื่อยมาจนถึงกษัตริย์องค์ที่ 9 พระองค์มหาวงศ์ เกดะห์มีการติดต่อค้าขายกับอาหรับจนรับเอาอารยธรรมและศาสนาของชาวอาหรับเข้ามายึดถือ พระองค์มหาวงศ์ หันมานับถือศาสนาอิสลาม และเปลี่ยนชื่อเป็น สุลต่าน มุสซาฟา ชาห์ ในปี พ.ศ. 1679 (ค.ศ. 1136)
ตามประวัติศาสตร์แต่โบราณมา เมืองเกดะห์ถูกเรียกว่าเมืองไทรบุรีมา่โดยตลอด โดยในศตวรรษที่ 7-8 เมืองไทรบุรีขึ้นอยู่กับอาณาจักรศรีวิชัย หลังอาณาจักรศรีวิชัยล่มสลาย และเกิดอาณาจักรมะละกา ทางตอนใต้ เมืองไทรบุรีจึงไปขึ้นอยู่กับมะละกา จนกระทั่งศตวรรษที่ 17 พวกอาเจะห์ก็เข้าเข้าโจมตีเมืองไทรบุรี เจ้าเมืองไทรบุรีจึงได้ขอความช่วยเหลือยังอาณาจักรอยุธยาและถ้าปลดปล่อยสำเร็จจะขอเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอโยธยา โดยทางอาณาจักรอโยธยาได้ส่งกำลังทหารเข้ามาปลดปล่อยเมืองไทรบุรีจากพวกอาเจาะห์เป็นผลสำเร็จ ซึ่งตั้งแต่นั้นเมืองไทรบุรี ศตวรรษที่ 18 ก็อยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรอโยธยาต่อมาถึงอาณาจักรสยาม มาโดยตลอด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชอาณาจักรสยามได้มีการปรับปรุงการดูแลหัวเมืองทางใต้ใหม่ โดยตั้งรูปแบบมณฑลขึ้นและเปลี่ยนการเรียกเมืองเป็นจังหวัด จึงทำให้เมืองไทรบุรีเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดไทรบุรีสังกัดมณฑลมาลัย
ต่อมาอังกฤษได้เข้ามามีอิทธิพลเหนือดินแดนมาลายูทางใต้ของเมืองไทรบุรี ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อังกฤษเข้ามามีอำนาจในดินแดนมาลายู โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีแผนการณ์หวังที่จะให้อังกฤษโดยมีข้อแม้ว่าต้ิองช่วยเมืองไทรบุรีให้ปลดปล่อยออกอำนาจของสยาม โดยเจ้าเมืองไทรบุรีมีข้อแลกเปลี่ยนคือยกเกาะหมากหรือเกาะปีนังในปัจจุบัน ให้กับอังกฤษ แต่อังกฤษสนใจเฉพาะการค้าเท่านั้นไม่มีต้องการมีเรื่องกับสยามเพราะการค้าของอังกฤษในสยามกำลังเป็นไปได้ด้วยดี จึงปฏิเสธเจ้าเมืองไทรบุรีไปโดยให้เหตุผลว่าไม่ต้องการยุ่งเกี่ยวกับเรื่องภายในของประเทศอื่น ปีนังจึงอยู่ในการปกครองของต่อไป ต่อมาอังกฤษยึดอินเดียและพม่าเป็นรัฐอารักขาได้แล้ว และมีแผนขยายอำนาจอังกฤษจึงยอมรับข้อตกลงรับเกาะหมากหรือเกาะัปีนังจากเมืองไทรบุรี โดยเรื่องนี้เมืองไทรบุรีไม่ได้แจ้งให้สยามซึ่งมีอำนาจเหนือเมืองไทรบุรีในขณะนั้นทราบ ทางสยามเมื่อทราบจึงส่งกองทัพยกกำลังเพื่อมาจับเจ้าเมืองไทรบุรีเพื่อพิจารณาโทษที่กรุงเทพฯ แต่ปรากฏว่าเจ้าเมืองไทรบุรีหนีเข้าไปอยู่ในเขตของอังกฤษ โดยสยามในขณะนั้นมีนโยบายไม่อยากเป็นศัตรูและรู้ว่าไม่สามารถทัดทานอำนาจของอังกฤษได้ ซึ่งผลทำให้เกาะปีนังตกเป็นของอังกฤษตั้งแต่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2329 ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ได้เคยทำไว้กับอังกฤษโดยต้องการให้ได้มาซึ่งอำนาจ ศาลไทยที่จะพิจาณาคดีและบังคับคดีความผิดของคนอังกฤษและคนในบังคับอังกฤษซึ่งขณะนั้นได้สร้างปัญหามากมายกับสยาม โดยอังกฤษมีข้อแลกเปลี่ยนคือสยามจะต้องยกสี่รัฐมาลัยให้เป็นของอังกฤษ ประกอบด้วย กลันตัน,ตรังกานู,ไทรบุรี,ปะริด ซึ่งสยามได้พิจารณาและตัดสินใจยอมยกสี่รัฐมาลัยให้แก่อังกฤษเมื่อ 10 มีนาคม 2441 เพื่อแลกเปลี่ยนตามเงื่อนไข ด้วยเหตุนี้เมืองไทรบุรีก็ตกอยู่ภายใต้รัฐมาลายูของอังกฤษ เมื่อเมืองไทรบุรีได้เข้าไปรวมอยู่รัฐมาลายูของอังกฤษซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงได้เปลี่ยนชื่อไทรบุรี เป็น เกดะห์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

แสดงความคิดเห็น