วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

หมากสื่อรัก วัฒนธรรมหมากที่หลายท่านอาจเข้าใจผิด?

การกินหมากเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย ซึ่งถูกห้ามในสมัย ร. ๕ ก่อนนั้น การกินหมากจึงเป็นเรื่องปกติ ทว่า วัฒนธรรมการกินหมากนั้น มีรายละเอียดความเป็นมาอย่างไรบ้าง? หลายท่านคงจะเห็นในชาวชนบทหรือในหนังบ้างนะครับ แต่ดั้งเดิมนั้น เขามีวิธีกินหรือความเชื่อในเรื่องการกินหมากกันอย่างไร?


อย่างแรก การกินหมากปกติเป็นเรื่องของผู้หญิงนะครับ คือ เขาเชื่อกันว่ากินแล้วฟันสวย ปากแดง อะไรแบบนั้น แต่ผู้ชายก็กินได้ครับ แต่เขาจะไม่ค่อยติดหมากกันนักเพราะไม่ใช่วิสัยของผู้ชาย กล่าวคือ หมากนั้นปกติ เขาจะใช้กินเวลาว่่างๆ พูดคุยกันในวงสนทนาของพวกผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ แต่ก็ไม่ได้ว่าอะไรถ้าผู้ชายจะกินหมากด้วยครับ แต่ปกติ ผู้ชายไม่ค่อยมีเวลานั่งกินหมากกันแบบนั้น จะมีเรื่องนอกบ้านให้ทำมากกว่าจะมานั่งกินหมากเข้าวงสนทนากันนะครับ ทีนี้ ด้วยผู้ชายปกติจะไม่ค่อยกินหมากนี่เอง ถ้าได้ลองกินครั้งแรก ก็จะรู้สึกแย่ทีเดียว เพราะหมากมันมีรสฝาดและขม ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดค่านิยม "ลองใจคนรัก" ด้วยหมากครับ คือ แกล้งให้ผู้ชายที่มาชอบ กินหมากดู แล้วสังเกตุดูว่าเขาจะปฏิเสธไปเลย คายทิ้งแบบไม่มีเยื่อใย หรือว่าอดทนความ "ขมขื่นปนฝาด" นั้นได้ ถ้าเขายอมทนเคี้ยว ยอมกิน ทั้งๆ ที่ไม่เคยกินเลย ก็มีนัยยะว่า "เขาจะรักจริง" นั่นเอง ดังนั้น เขาจึงใช้หมากในการส่งให้คนที่รักหรือกำลังสนใจกันอยู่ แบบไม่พูดถามกันตรงๆ นะครับ อนึ่ง ถ้าผู้ชายกินหมากได้ตามปกตินี่ การลองใจแบบนี้ก็ไม่มีประโยชน์ คือ มันจะไม่อาจบอกได้ว่าเขาจะยอมกล้ำกลืนฝืนทนกับรสชาติที่ขื่นขมและฝาดนั้นหรือไม่? เพราะถ้าเขากินหมากได้ มันก็จะไม่รู้สึกแบบนั้นไงครับ คือ อย่างไรก็กินได้ ไม่ว่าจะรักหรือไม่รักผู้หญิงคนนั้น ดังนั้น เขาจึงไม่ให้ผู้หญิงห่อหมากให้ผู้ชายกินแบบไม่คิด เขาจะให้หมากผู้ชายกินก็เฉพาะกรณีที่จะลองใจคนรัก ก็เท่านั้น ปกติไปห่อหมากส่งให้กันนี่ ไม่ไ่ด้นะครับ ทีนี้ ฝ่ายชายก็มีวิธีลองใจผู้หญิงบ้าง ด้วยการ "ไปขอหมากผู้หญิงกิน" ครับ คือ ถ้าผู้หญิงมีใจหรือเปิดใจบ้าง ก็จะห่อหมากให้กิน แต่ถ้าเขาไม่ชอบ เขาก็จะไม่ห่อหมากให้กินครับ แล้วเด็กๆ นี่จะยังไม่กินหมากนะครับ มันฝาดและขมเกินไปสำหรับเด็ก ผู้หญิงจะเริ่มหัดกินหมากเมื่อเริ่มเข้าวัยสาว นั่นคือ จุดเริ่มต้นของการเริ่มเข้าสังคมแบบผู้หญิงๆ นะครับ ส่วน "พระ" และนักบวช ก็ไม่ได้นิยมกินหมากกันทั้งหมด ผมมาตกใจและแปลกใจที่พระสมัยนี้ชอบกินหมากให้ปากแดง งงดี? ยิ่งเวลาเห็นผู้ชายนั่งเรียบร้อย จับเครื่องหมากเข้าห่อทีละนิด ห่อเรียบร้อยสวยงาม ทำของกินอันเล็กๆ ได้ ยิ่งแปลกใจใหญ่ (ปกติ ไม่ใช่วิสัยผู้ชายที่จะมานั่งหยิบจับของเล็กๆ นั่งห่อของกินอะไรแบบนั้นครับ) ถ้าเห็นผู้หญิงกินหมากเืพื่อเข้าสังคม ส่วนผู้ชายกินเหล้าเพื่อเข้าสังคม อันนั้น ผมไม่แปลกใจ


อย่างหนึ่งที่อยากให้เราๆ ท่่านๆ ทราบเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยโบราณคือ คนไทยจะไม่สื่อสารทุกเรื่องอย่างเปิดเผยนะครับ บางเรื่องจะสื่อสารโดย "อวัจจนะภาษา" ไม่ใช่การพูดตรงๆ ครับ โดยเฉพาะเรื่องความรู้สึกทางใจ รักใครชอบใคร อะไรแบบนั้น จะไม่พูดออกมาตรงๆ แม้แต่ผู้หญิงนี่ จะจ้องตาผู้ชายแบบไม่หลบสายตาเลย ก็ไม่ได้ครับ มันผิดปกติของยุคนั้น ผู้หญิงไทยโบราณจะต้องมี "ความเหนียมอาย" อยู่เยอะมาก ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็น "ผู้หญิงร่าน ใจกล้าหน้าด้าน" ไปเลย เวลาผู้ชายมองก็อย่ามองจ้องตอบ  ให้หลบสายตา อย่างมากถ้าจะสื่อรัก ก็ให้มองแค่หางตาแล้วหลบไปเท่านั้นเอง แล้วมันจะกลายเป็นเสน่ห์ของผู้หญิงที่ทำให้ผู้ชายยิ่งอยากเข้าใกล้ อยากติดตามครับ แต่เดี๋ยวนี้จะไม่มีแล้ว ผู้ชายจ้องตาผู้หญิงๆ ก็จ้องตาตอบ จ้องกันเขม็ง แถมบางทีผู้หญิงจ้องก่อน หรือจ้องกลับแบบไม่ลดละเลย อันนี้ เป็นของใหม่นะครับ ไม่ใช่แบบผู้หญิงไทยโบราณ ลองไปดูนะครับ คนไทยโบราณรักกันนานยั่งยืนทีเดียว ทนทานทายาท แต่คนไทยเรายุคนี้ "รักง่ายหน่ายเร็ว" ขนาดไหน ต่างกันจริงๆ ไม่มีอะไรผิดหรือถูกหรอกนะครับ เป็นความไม่เที่ยง เปลี่ยนไปตามยุคสมัยเท่านั้นเอง แต่เล่าให้กันฟังเป็นเกร็ดเล็กๆ เท่านั้นว่าอะไรที่ทำให้เราคบกันได้ไม่นาน มันเำพราะอะไร? ผู้หญิงไทยเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดไหน? ทำไมมีรักไม่ยั่งยืน!



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น