วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

อีกขั้นของการพัฒนาสู่ประเทศพาณิชยกรรม ได้อย่่างไร?

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่จะจมปลักอยู่แต่การเป็นประเทศเกษตรกรรมอย่างเดียว (แต่ก็ไม่ใ่ช่ว่าเราจะทอดทิ้งการเกษตรไปทั้งหมด ก็หาไม่) และไม่เหมาะสมที่จะก้าวขึ้นเป็นประเืทศอุตสาหกรรม (เพราะจะทำให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม แล้วภัยพิบัติตามมา) แต่ประเทศไทยเหมาะสมที่จะก้าวขึ้นเป็นประเทศพาณิชยกรรมด้วยปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ โดยเฉพาะไทยเป็นเส้นทางขนส่งสินค้า (Logistic) จากประเทศจีนไปยังพม่า, ลาว, กัมพูชา ฯลฯ สภาพเช่นนี้ไม่ต่างอะไรกับประเทศสิงคโปร์ในสมัยโบราณที่เคยเป็นเมือง ท่า ทางผ่านของเส้นทางการขนส่งสินค้าทางทะเล ส่งผลให้ประเทศสิงคโปรค์เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในปัจจุบัน แต่ทว่า ทุกสิ่งย่อมมีการเปลี่ยนแปลง และได้รับการพัฒนาให้ก้าวไปข้างหน้า แม้แต่สิงคโปร์เองก็จะจมปลักอยู่แต่ประเทศพาณิชยกรรมไม่ได้อีกต่อไป สิงคโปร์จะต้องพัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นนักลงทุนใหญ่ของอาเซี่ยน หรือ Bank of AEC ในขณะเดียวกันไทยก็ต้องก้าวไปสู่การเป็นประเทศพาณิชยกรรมเช่นกัน ด้วยการวางตำแหน่งของประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนเช่นนี้ จะช่วยให้เกิดความแตกต่างกันของแต่ละประเทศ ไม่แข่งขันกันมากเกินไป และจะสามารถทำให้ทั้งไำทยและอาเซียนทั้งหมดจะเจริญก้าวหน้าต่อไปร่วมกันได้ ทั้งนี้ ผลจากการเปิดเสรีอาเซียนนั้นเอง จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับโครงสร้างของเศรษฐกิจเลยทีเดียว (Economic structure change) แบ่งได้เป็นสามกลุ่มใหญ่ดังนี้

๑. กลุ่มนายทุนใหญ่กลุ่มเก่า ที่ย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแสวงหาต้นทุนที่ต่ำกว่า
๒. กลุ่มนายทุนเล็กกลุ่มใหม่ ที่เน้นเจาะตลาดบน ขายสินค้าราคาแพง แต่คุณภาพดี เน้นแบรนด์ดังๆ
๓. กลุ่มนายทุนซื้อมาขายไป ซึ่งจะรับสินค้าต้นทุนต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามากินกำไรเ็ป็นทอดๆ

นี่คือ กลุ่มนักธุรกิจสำคัญๆ ของไทยในอนาคต ที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยต่อไป ซึ่งหลังจากเปิดเสรีอาเซียนแล้ว จะส่งผลกระทบต่อนักธุรกิืจไทยแต่เดิมอย่างยิ่ง เช่น กลุ่มนายทุนใหญ่กลุ่มเก่า ที่ไม่ยอมย้ายไปตั้งฐานการผลิตที่ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำต้นทุนให้สามารถแข่งขันกับสินค้าราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านได้ กลุ่มนี้ ก็จะประสบปัญหาอย่างมาก สุดท้าย ถ้าไม่ออกจากตลาดการแข่งขันนี้ไป ก็ต้องล้มละลายไปเองในที่สุด เพราะไม่ยอมปรับตัว นั่นเอง, กลุ่มนายทุนเล็กกลุ่มใหม่ (SMEs) ที่ไม่อาจจะสร้างตราสินค้าและคุณภาพในตลาดระดับบนได้ ก็จะไม่อาจขายสินค้าในราคาต้นทุนที่สูงกว่าสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านได้ และจะประสบปัญหาไม่ต่างจากกลุ่มแรก, กลุ่มนายทุนซื้อมาขายไป (Trader) ถ้าไม่ยอมเปลี่ยนไปซื้อสินค้าต้นทุนต่ำจากประเทศเพื่อนบ้านยังคงซื้อสินค้าจากสายการผลิตเดิมๆ ก็จะประสบปัญหา ราคาสินค้า แพงกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน และไม่อาจดำีรงอยู่ในตลาดต่อไปได้เช่นกัน


อนึ่ง อย่าลืมว่าเราได้เห็น "ความล่มสลายของกลุ่มประเทศยูโร" กันมาแล้ว อันเกิดจากการผูกโยงเงินเข้าด้วยกัน ส่งผลให้ค่าเงินไม่อาจเปลี่ยนแปลง, ยืดหยุ่นไปตามสถานการณ์ของแต่ละประเทศได้ คราวนี้ เรารวมกลุ่มกันขึ้นเป็นอาเซียนบ้าง แม้ว่่าจะไม่มีการใ้ช้เงินสกุลเดียวกัน แต่การเปิดเสรีการค้า ไม่มีภาษี ก็จะส่งผลกระทบต่อ "เครื่องมือในการปรับฐานต้นทุนสินค้า" ได้ กล่าวคือเมื่อก่อนถ้ามีชาวจีนเอาผักราคาถูกมาขาย เพราะผลิตได้้ต้นทุนต่ำกว่า พอผ่านกำแพงภาษีก็มีราคาสูงขึ้น ทำให้ไม่อาจรบกวนดุลยภาพของตลาดในประเทศแต่เดิมได้ แต่พอกลายเป็นเขตการค้าเสรี ไม่มีภาษีแล้ว ของถูกๆ ก็จะไหลทะลักเข้ามาในประเทศ มาแข่งกับของในประเทศที่ราคาเท่าเดิม คือ แพงกว่า สุุดท้าย ก็จะส่งผลกระทบให้ผู้ผลิตในประเทศไทย ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าที่มาจากต่างชาติได้ นี่คือ "ผลจากรัฐบาลไม่มีเครื่องมือเป็นภาษี" หลังจากเปิดเขตการค้าเสรีแล้ว ดังนั้น เพื่อปรับตัวให้ทันกับปัญหานี้ ประเทศไทยซึ่งมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว, พม่า, กัมพูา ฯลฯ จึงต้องปรับตัวหลายอย่าง เพราะเมื่อตลาดได้รวมกันกลายเป็น "ตลาดอาเซียน ตลาดเดียว" แล้ว จะส่งผลให้ "ดุลยภาพตลาด" คือ ราคาสินค้าและปริมาณสินค้าที่ลูกค้าต้องการ กลายเป็น "มาตรฐานเดียวกันทั้งอาเซียน" ประเทศใดที่มีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า ก็เสี่ยงที่จะต้องพบอุปสรรคในการแข่งขันกับมาตรฐานราคาที่ต่ำกว่า เรียกว่า การเปิดเสรีการค้านี้ ให้ผลดีกับประเทศกำลังพัฒนาหรือด้อยพัฒนามากกว่า เพราะพวกเขามีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า แต่จะมีปัญหาอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนามากกว่า เพราะมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า นั่นเอง อนึ่ง ผลกระทบนี้ จะเป็นผลเสียต่อนักลงทุน แต่จะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว หากนักลงทุนได้รับผลกระทบมาก ก็จะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้ เมื่อนั้น แม้แต่ผู้บริโภค ก็ไ้ด้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนี้



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น