วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

เขาพระวิหารเป็นของไทย ไม่ใช่ของกัมพูชา

สืบเนื่องมาจาก "กรณีพิพาทเขาพระวิหาร" ระหว่างไทยและกัมพูชา ผมได้ฟังข่าวแล้วงงมากถึงมากที่สุด คือ เขาสรุปว่า "ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา" ส่วน "พื้นที่โดยรอบ..ตรม." เป็นของไทยซึ่งมันเป็นไปไม่ไ่ด้ที่ประเทศสองประเทศจะมีกรรมสิทธิ์เหลือมซ้อนกันอย่างนี้ "ตัดสินแบบนี้ไม่ไ่ด้ ได้จบ" กล่าวคือ เขาสรุปการตัดสินคดีไปว่า "พื้นที่โดยรอบเป็นของประเทศไทย" แต่ "ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา" อ้างเอาจาก "สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส" ซึ่งหลักฐานนี้ไม่อาจใช้ได้แล้วครับ เพราะอะไร? เพราะ "ฝรั่งเศส" ไม่ใช่คู่กรณีในคดีนี้ สัญญาจึงเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย ถ้าฝรั่งเศสยังคงยึดครองกัมพูชาอยู่ และรัฐบาลกัมพูชาทำตามอำนาจของฝรั่งเศส สัญญาฉบับนี้ นับว่ายังใช้ได้อยู่ครับ แต่เมื่อกัมพูชาไม่ได้อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสแล้ว "สัญญาที่ฝรั่งเศสทำกับไทย" ย่อมเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย อันเป็นผลให้ "ตัวปราสาทพระวิหาร" ต้องตกเป็นของไทย ไม่ใช่ด้วยอ้างอิงตามสนธิสัญญาที่สิ้นสุดไปแล้ว แต่อ้างอิงตาม "แผนที่ซึ่งไทยมีอำนาจในพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารนั้น" (สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ถือเป็นโมฆะแล้ว)


พูดแล้ว ชาวบ้านบางคนอาจไม่เข้าใจ อธิบายง่ายๆ อย่างนี้ครับ คือ กัมพูชาอ้างว่าไทยทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสไว้ แล้วส่งผลให้ไทยต้องยอมยกปราสาทพระวิหารให้ฝ่ายฝรั่งเศส ต่อมา กัมพูชาปลดแอกออกจากอำนาจการปกครองของฝรั่งเศสแล้ว ดังนั้น กัมพูชา ซึ่งไม่ใช่คู่กรณีในสัญญานั้นๆ ไม่ใช่ไทย ไม่ใช่ฝรั่งเศสเลย ดังนั้น จะมาอ้างเอา "สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส" ยกขึ้นอ้าง "หาได้ไม่" อุปมา เหมือนสัญญาของคนรุ่นพ่อทำไว้ พอถึงรุ่นลูก พ่อตายไปแล้ว สัญญาย่อมไม่มีผลผูกพันลูกด้วย หรือถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด "สิ้นสภาพตามกฏหมาย" ไปแล้ว ไม่ว่าจะตาย, ล้มละลาย, องค์กรถูกยุบ หรือหมดอำนาจในการปกครองประเทศอาณานิคม ก็ตาม "สนธิสัญญา" นั้นๆ ย่อมสิ้นสุดลงไปด้วย ตามกัน รัฐบาลใหม่จะนำสนธิสัญญาเก่า ที่ทำไว้โดยประเทศอื่น ยกขึ้นอ้าง ต่ออีกประเทศหนึ่งนั้น "หาได้ไม่" คือ ไม่มีผลทาง กฏหมายใดๆ เลย นั่นเอง กรณีคู่สัญญาเป็น "ประเทศต่อประเทศ" ก็ต้องดูว่า "ความสิ้นสุดไปของอำนาจในการปกครองประเทศ" นั้น สิ้นสุดลงเมื่อไร ถ้าอำนาจของฝรั่งเศสในการปกครองประเทศกัมพูชาสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับไทย ก็ต้องสิ้นสุดลงด้วย และ "การที่ ร.๕ ยกดินแดนให้แ่ก่ฝรั่งเศส" นั้น ก็ถือว่า "สิ้นสุด" ดังนั้น "ประเทศกัมพูชา ยังต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของไทย ดังเดิม ยกเว้นว่า กัมพูชาจะขอต่อไทยเพื่อเป็นประเทศเอกราช แล้วประเทศไทยยอมยกให้แล้ว ประเทศกัมพูชาจึงจะเป็นประเทศราช มีอิสรภาพเป็นของตนได้ (ก่อนสมัย ร.๕ ประเทศกัมพูชาเ็ป็นส่วนหนึ่งของไทยแต่ ร. ๕ ได้ยกดินแดนส่วนนี้ให้แก่ฝรั่งเศสไปครับ เมื่อฝรั่งเศสยอมสละอำนาจเหนือดินแดนนี้ไปแล้ว ดังนั้น สนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ย่อมสิ้นสุดลงด้วย ทำให้ "ดินแดนของประเทศกัมพูชา" ย่อมต้องตกเป็นของประเทศไทยตามเดิม ก่อนสนธิสัญญานั้นๆ นั่นคือ สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศสเป็น "โมฆะ" นั่นเอง


ดังนั้น ตัวปราสาทพระวิหารจะเป็นของใคร ก็ต้องดู "เขตดินแดน" เป็นสำคัญ ซึ่งเขตดินแดนนั้นทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันชัดเจนว่า "ตัวปราสาทพระวิหาร" อยู่ในเขตดินแดนของไทย ดังนั้น จึงไม่มีการคิดเลยเถิดไปถึงเรื่องการพัฒนาเขาพระวิหารร่วมกัน เพราะเป็นกรรมสิทธิ์ของไทยโดยถูกต้องสมบูรณ์ครับ ทว่า เมื่อรัฐบาลไทยรุ่นก่อนๆ ยอมรับใน "สนธิสัญญา" ไปแล้วนั้น หาได้ส่งผลต่อ "รัฐบาลใหม่" ด้วย เพราะรัฐบาลใหม่มิได้ทำสัญญาหรือยอมรับ ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้ารัฐบาลเก่าทำเรื่องผิดพลาดไป แล้วรัฐบาลใหม่ซึ่งมีอำนาจมาได้ด้วยตนเอง มิใช่ลูกหลานของรัฐบาลเก่า ที่รับมอบอำนาจสืบๆ กันมา ดังนั้น ย่อมมีอำนาจของตนเองที่จะกระทำการณ์อย่างอิสระ และไม่ขึ้นกับรัฐบาลเก่า ดังนั้น จะแก้ไขสิ่งที่รัฐบาลชุดเก่าทำผิดพลาดไว้ ไม่ยอมรับการทำสิ่งผิดพลาดของรัฐบาลชุดก่อน ย่อมไม่ผิดแปลกแต่ประการใด



3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางใต้ของแคว้นสุโขทัย อาจจะหมายถึงพวก ละโว้ (หรือ ลพบุรี) เอกสารทางล้านนา เช่น จารึกและตำนานต่างๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา(ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็วๆ กลายเป็น “ขอม” [1]
พวกนี้ตัดผมเกรียน และนุ่งโจงกระเบน กินข้าวเจ้า ฯลฯ แคว้นละโว้มีชื่อในตำนาน และพงศาวดารว่า กัมโพช เลียนอย่างชื่อ กัมพูชา ของเขมร นับถือทั้งฮินดูและพุทธมหายาน อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ขอมเป็นพวกนับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ใครเข้ารีตเป็นฮินดู หรือพุทธมหายาน เป็นได้ชื่อว่า ขอม ทั้งหมด ขอมไม่ใช่ชื่อชนชาติ เพราะไม่มีชนชาติขอม แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ สยาม
[แก้]ขอม เขมร ขะแมร์

เดิม ขอม ไม่ได้หมายถึงเขมรกลุ่มเดียว เพราะ เขมร นั้น เป็นคำไทย ซึ่ง หมายถึง ขะแมร์ ชาวเขมร ไม่ได้เรียกตัวเองว่า ขอม และไม่รู้จัก ขอม ต่อมาสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1893 แล้วชื่อ ขอม มีความหมายเปลี่ยนไปเป็นพวกเขมรเท่านั้น สืบมาจนถึงทุกวันนี้ ทำไมชื่อขอม เปลี่ยนความหมายไปเป็นเขมร ? ยังหาคำอธิบายไม่ได้ชัดเจน แต่พอจะจับเค้าว่าเพราะบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานับถือพุทธนิกายเถรวาทหมดแล้ว รวมทั้งละโว้ แต่ทางเขมรยังมีพวกนับถือฮินดูกับพุทธมหายาน คือขอมอยู่บ้าง
คำว่า ขอม ปรากฏในจารึกวัดศรีชุม สุโขทัย 2 แห่ง ระบุชื่อ ขอมสบาดโขลญลำพง จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการคนแรก ๆ พยายามศึกษาและอธิบายคำคำนี้ใหม่ ได้เสนอว่า ขอม ไม่ได้หมายถึงชนชาติหรือเชื้อชาติ แต่หมายถึงกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง ที่รับวัฒนธรรมฮินดูจากชมพูทวีปแล้วภายหลังเปลี่ยนเป็นพุทธมหายาน (ต่างกับชนชาติไทย-ลาวที่นับถือผีก่อนเปลี่ยนมารับพุทธเถรวาทจากชมพูทวีป) ใช้อักษรขอมในการจดจารึก ซึ่งคนกลุ่มนี้รวมถึงชนชาติเขมรและรัฐเครือญาติทั้งหมด รวมทั้งละโว้ ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นอโยธยาศรีรามเทพนครด้วย คำว่า "ขอม" ถูกใช้เรียกกลุ่มคนโดยรวม คล้ายกับการใช้คำว่า "แขก" เรียกคนอิสลาม/ซิกข์/ฮินดูโดยรวม โดยไม่แยกว่าเป็นคนอินเดีย มลายู ชวา หรือตะวันออกกลาง จิตร ยังอธิบายว่า คำว่าขอม ถูกนำมาใช้ในงานเขียนสมัยใหม่ (ขณะนั้น)โดยมีความรู้สึกชาตินิยมเป็นพื้นมากกว่าข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เช่นการถือว่าขอมเป็นคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เคยแผ่อำนาจมาครอบครองดินแดนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงสุโขทัย มีอำนาจปกครองเหนือชาวไทยโบราณ ต่อมาชาวไทยที่สุโขทัยจึงลุกขึ้นต่อสู้เพื่อให้พ้นจากอำนาจของขอม เพื่อสร้างความรู้สึกชาตินิยมในประเทศไทย[2]
สุจิตต์ วงษ์เทศ นักวิชาการแห่งสำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม ก็เสนอว่า ขอม ในที่นี้น่าจะหมายถึงคนในที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ต่อสู้ชิงความเป็นใหญ่กับคนทางเหนือ คำว่าขอม ใช้เรียกคนเมืองละโว้หรือลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองใหญ่เก่าแก่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และต่อมาจึงเรียกรวมไปถึงเมืองอโยธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของอยุธยา จากนั้นในหลักฐานประวัติศาสตร์ของอยุธยา ได้ใช้คำนี้เรียกคนในดินแดนเขมรแถบเมืองพระนครหรือนครธม ในข้อความที่ว่า "ขอมแปรพักตร์"และในกฎมณเฑียรบาล น่าจะหมายถึงคนในเขมรหรือกัมพูชา[3] โดยสรุป คำว่า ขอม เป็นคำเรียกคน มีความหมายทางวัฒนธรรมและมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา


http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%A1

Unknown กล่าวว่า...

เขมรแปรพักต์ คือ กัมพูชา ปัจจุบัน ซึ่งแยกตัวออกมาตั้งประเทศภายหลังจากที่ได้รับเอกราชจากฝรั่งเศษ หลังไทยยกดินแดนส่วนนี้ให้ฝรั่งเศษ ซึ่งราชวงศ์ของกัมพูชา ไม่ได้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ขอมเลยแม้แต่น้อย เพราะราชวงศ์ขอมสิ้นสุดลงนานแล้ว ก่อนสมัยสุโขทัย ยังคงเหลือปรากฏอีกครั้งในประวัติศาสตร์ไทยคือ ยุคแม่หยัวศรีสุดาจันทร์ ที่พยายามยกเอาสามีซึ่งเป็นพราหมณ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ครองอโยธยา ด้วยมีเชื้อสายขอม แต่พลาดท่า จึงเสียอำนาจให้แก่พระสุริโยทัย ซึ่งมีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย


ดังนั้น หากจะสืบเชื้อสายจริงๆ เชื้อสายขอมกับสุวรรณภูมิ มีความใกล้ชิดกันมากกว่า จากกรณีที่แม่หยัวศรีสุดาจันทร์ (ราชวงศ์อู่ทอง) พยายามแต่งงานเพื่อรวมอำนาจกับพราหมณ์ผู้หนึ่งคือ ขุนวรวงศาธิราช ซึ่งภายหลังได้เป็นกษัตริย์ (ที่คนไม่ยอมรับ) ที่ยกเอาศาสนาพราหมณ์กลับมาแทนที่ศาสนาพุทธ

Unknown กล่าวว่า...

บ้างเชื่อกันว่า ขุนวรวงศาธิราช มีเชื้อสายสืบจากเ้จ้าเมืองศรีเทพ
.................................................................................


อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานมีพื้นที่ครอบคลุมโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ ศรีเทพเป็นเมืองโบราณที่อยู่ในท้องที่อำเภอศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" ถูกค้นพบเมื่อสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" เมื่อปี พ.ศ. 2447-2448 เมืองโบราณศรีเทพนี้มีลักษณะเป็นเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ ที่ตั้งของเมืองอยู่ในชุมทาง ที่สามารถติดต่อกับภาคอื่น ๆ ได้สะดวก ดังนั้นจึงได้รับอิทธิพลทางศิลปวัฒนธรรมจากอาณาจักรข้างเคียง มาผสมผสาน เช่น ศิลปะทวารวดี ศิลปะขอม เป็นต้น เมืองศรีเทพสร้างขึ้นในยุคของขอมเรืองอำนาจ ซึ่งคาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี โดยดูจากหลักฐานทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และวัฒนธรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและมีความเจริญสูงสุดทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม สันนิษฐานว่าเจริญอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 ถึงพุทธศตวรรษที่ 16
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับรางวัล Thailand Tourism Award ประจำปี 2543 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมโบราณสถานยอดเยี่ยมและรางวัลสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ด้านอินเทอร์เน็ตดีเด่น

แสดงความคิดเห็น