วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

อุดมการณ์คู่ขนาน ที่กำลังจะพลิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้แก่แผ่นดินจีน?

ก่อนอื่นเพื่อให้ท่านผู้อ่านเข้าใจง่ายที่สุดผมจะสรุปให้เข้าใจง่ายๆ สั้นๆ นะครับ (หากข้อมูลไม่ดีนักในรายละเอียดต้องขออภัย เพราะมันจะซับซ้อนเกินจนผู้อ่านบางส่วนไม่เข้าใจได้) เรื่อง ประเทศจีนหลังสิ้นยุคระบอบกษัตริย์ครับ สรุปง่ายๆ ก็คือ มีขั้วอำนาจ ๒ สาย ๑. สายเหมาเจ๋อตุง เป็นเผด็จการหัวรุนแรงเต็มตัว  ๒. สายซุนยัดเซ็น เป็นหัวก้่าวหน้า นิยมประชาธิปไตย เรื่องเริ่มจาก ซุนฯ เป็นผู้ปฏิวัติราชวงศ์ชิงลงไปได้ ด้วยการขอความร่วมมือจาก "หยวนซือไข่" ทำให้ต่อมา ซุนฯ ยอมอ่อนข้อแล้วยกอำนาจให้หยวนซือไข่ โดยตนปรับสถานะลงมาเป็น "ที่ปรึกษา" แทน ทว่า หยวนซือไข่ ไม่ได้เชื่อฟังคำของซุนฯ เลย มิหนำซ้ำก็เล่นงานซุนฯ ด้วย จนซุนฯ อยู่ในจีนไม่ได้ต้องอพยพไปอาศัยกำลังต่างชาติช่วย แล้วกลับมาพยายามล้มหยวนซือไข่ต่อ ทว่า สุดท้าย หยวนซือไข่ก็ป่วยตายไปเอง หมดยุคของ "ทรราช" ก็เข้าสู่ยุค "แม่ทัพ" คือ ๑. เจียงไคเช็ค ใช้กองกำลังทหารเืพื่อรวบอำนาจ ๒. เหมาเจ๋อตุง ใช้กำลังประชาชน เข้าห้ำหั่นกัน ซึ่งซุนฯ ไม่เห็นด้วยแน่นอน ทว่า เขาก็ตายไปแล้ว เหลือแต่ภรรยาของเขา "ซ่งชิงหลิง" ที่พยายามสืบสานปณิธานของซุนฯ ต่อ ขณะนั้น ซ่งชิงหลิง มีอำนาจในจีนพอควร แล้วเลือกเข้าข้างพรรคคอมมิวนิสต์แทน เพราะเห็นว่าจะนำพาประเทศรอดจากการยึดครองของญี่ปุ่นและพวกฝรั่งได้ ทว่า ภรรยาของเหมาฯ ก็นำพากลุ่มเรดการ์ดไปสู่การปฏิวัติวัฒนธรรมและทำให้คนจีนต้องตายจำนวนมาก พร้อมกับการสูญเสียวัฒนธรรมโบราณไปมากมาย ในยุคของเหมาเจ๋อตุงนี่เอง จีนจึงแตกแยกออกมาเป็นสองสายคือ ๑. สาย เหมาเจ๋อตุง (เผด็จการ) ๒. สายเจียงไคเช็ค (ประชาธิปไตย) ภายหลังเจียงไคเช็คต้องหนีไปอยู่ไต้หวัน และได้ก่อตั้งประเทศขึ้นเป็นประชาธิปไตย สรุปง่ายๆ ตรงนี้คือ ๑. ซุนยัดเซ็นคือ ผู้นำการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์สำเร็จ ๒. เหมาเจ๋อตุงคือ ผู้นำในการก่อตั้งประเทศจีนเป็นคอมมิวนิสต์ ๓. เจียงไคเช็ค คือ ผู้นำในการก่อตั้งไต้หวันเป็นประชาธิปไตยได้สำเร็จ เรียกว่่า ทั้งสามคนนี้่ ก็สำเร็จไปคนละอย่างตามปณิธานของตนเองบางส่วน แม้ผู้ปฏิวัติ (ซุนยัดเซ็น) จะไม่ใช่ผู้ที่ได้ครอบครองอำนาจ ส่วนผู้ที่ได้ก่อตั้งประเทศจีน (เหมาเจ๋อตุง) กลับไม่อาจปกครองให้สงบร่มเย็นได้ และสุดท้ายผู้ก่อตั้งประชาธิปไตย (เจียงไคเช็ค) ไม่ได้ก่อตั้งในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง แต่ก็นับว่า "ทั้งสาม" ต่างก็ประสบความสำเร็จไปบางส่วน


จากการเปลี่ยนแปลงที่ยาวนานนั้น ส่งผลมาถึงปัจจุบัน ทำให้ประเทศจีนแท้แล้วมี "สองสายเลือด" คือ คนที่เป็นสายของเหมาเจ๋อตุง ซึ่งมีอำนาจมานานมากแล้ว และมักทำความผิดบ้าง, คอรัปชั้นบ้าง, เอาผลประโยชน์เข้าแต่ตระกูล (แซ่) ตัวเองบ้าง ฯลฯ และคนที่เป็นสายของซุนยัดเซ็น ปัจจุบัน อำนาจของสายเหมาเจ๋อตุงค่อยๆ ลดลงอย่างมาก และคาดว่าอนาคตจะลดลงมากขึ้นไปอีก หลังจาก "สีเจี้ยนผิง" ซึ่งเป็นลูกของ "สีจงชุน" (สีจงชุน ถูกเหมาเจ๋อตุงลงโทษให้ไปเป็นกรรมกร เพียงเพราะค้านไม่ให้ปฏิวัติวัฒนธรรม อันจะส่งผลให้คนตายมากและสูญสิ้นวัฒนธรรมโบราณไป ด้วยการอนุมัติให้มีการวิจารณ์ท่านเหมาฯ ในทางไม่ดี) ได้เป็นประธานาธิบดีและเรขานุการพรรคคอมมิวนิต์จีน (ปกติ สองตำแหน่งนี้ เดิมแยกเป็นคนละคนกัน คานอำนาจกันเอง แต่ปัจจุบัน ถูกรวบอำนาจเรียบร้อย) ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ "เปาปุ้นจิ้น ๒,๐๑๒" นั่นเอง กล่าวคือ จับข้าราชการ, นักการเมือง ฯลฯ ที่โกงกิน, คอรัปชั่น, ทำความผิด ฯลฯ ในยุคก่อนหน้านี้นั้น ไปลงโทษ ซึ่งก่อนหน้านี้ อิทธิพลของเหมาเจ๋อตุงยังมากอยู่ และทำให้ประเทศถูกผูกขาดอำนาจอยู่แต่ในตระกูลใครตระกูลมัน ระบบไม่สนับสนุนคนมีความสามารถอย่างแท้จริง แต่ถ้าได้ปฏิรูปเช่นนี้แล้ว ประเทศจีนคงต้องก้าวสู่ "ยุคที่สาม" หลังสิ้นระบอบกษัตริย์เ็ป็นแน่แท้ ที่น่าสนใจคือ จีนเริ่มมีแนวคิดเปิดกว้าง ทั้งยังมีการอนุญาติให้เลือกตั้งผู้นำระดับท้องถิ่นได้เองด้วย นั่นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลทางความคิด "สายซุนยัดเซ็น" มิได้สิ้นสุดลงไป แต่ได้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงในหัวใจของกลุ่มคนที่รักชาติอย่างแท้จริงและกำลังกลืนกันไปมาเพื่อก้าวไปสู่ "จุดสมดุลที่ลงตัว" ของสองสายเลือดที่สำคัญนี้ ดังนั้น "การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศจีนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตย" จึงไม่มีความจำเ็ป็นสำหรับจีนแต่อย่างใด (แต่อาจจำเป็นสำหรับอเมริกาที่จะยุยงให้คนจีนตีกันเอง) เพราะจีนเองก็กำลังก้าวไปสู่จุดร่วมของทั้งสองระบบอยู่แล้วในตัวที่น่าสนใจที่สุดคือ "สีจิ้นผิง" ที่ขึ้นมาเป็นประธานาธิดีได้ทั้งๆ ที่เริ่มต้น  จากการถูกปฏิเสธมาตลอด ทั้งยังเป็นลูกของคนที่ถูกลงโทษอย่างไม่เป็นธรรมโดยเหมาเจ๋อตุงอีกด้วย นั้น ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้เลยถ้าขาด "Back up" ที่ดี นั่นสินะ? ใครกันที่วางแผนเดิมเกมนี้ เลือกดันเอา "สีจิ้นผิง" มาจนถึงจุดนี้ได้? ท่ามกลางอิทธิพลเก่าสายเหมาฯ ที่มากมาย ขวางหน้าอยู่เต็มไปหมดนั้น?


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น