วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ซาตานแอ๊บเนียน แปลงร่างเป็น "โดเรม่อน" ล้วงความลับในการ์ตูนสุดฮอต

สรุปเลยละกันครับว่า "ผู้เขียนเรื่องโดเรม่อน" ต้องการใช้การ์ตูนเป็นสื่อสอนเด็ก ให้ระวังเรื่องซาตาน ซึ่งมีอิทธิพลมากและครอบงำโลกอยู่ เพราะซาตานจะมาในรูป "เพื่อนที่แสนดี" มีแต่ "ให้" ในทุกๆ ครั้ง ที่เรา "อ่อนแอ" ดังนั้น คนเขียนจึงวางโครงเีืรื่องในทุกตอนเหมือนกันหมดว่า ๑. มีการให้ของวิเศษไปใช้ แล้วจบลงด้วยความผิดพลาดทุกที (ไม่อาจแก้ปัญหาชีวิตได้ด้วยการพึ่งของวิเศษ) ๒. มีตัวละครเอกที่เป็นคนอ่อนแอไม่เอาไหน ไม่รู้จักใช้ความพยายามของตัวเอง เอาแต่พึ่งเพื่อนหรือร้องขอของวิเศษจากผู้อื่น ๓. มีตัวละครจากมิติอื่น ที่ไม่ใช่มนุษย์คอย "ให้ของวิเศษ" ป้อนเพื่อนอยู่เสมอ และทั้งหมดนี้ ก็มากพอที่จะบ่งบอกถึง "การทำงานของซาตาน" ได้ดียิ่งและแนบเนียนมากครับ อย่างไร? อย่างนี้ครับ ทุกครั้งที่คนเราอ่อนแอและไม่ยอมที่จะพึ่งตนเอง ยืนหยัดให้ได้ด้วยลำแข้งของตัวเอง ด้วยความพยายามของตัวเอง แต่กลับไป "ร้องขอ" ต่ออะไรก็ช่าง เช่น ร้องขอต่อเทพยดา, ขอหวย, อธิษฐานขอพระเจ้า หรือขอด้วยการบนบาน ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นการเปิดช่องเข้าสู่ "วิถีแห่งซาตาน" ทั้งสิ้น ไม่ต่างอะไรกับ "โนบิตะ" ผู้อ่อนแอที่มีปัญหาในการปรับตัวกับเพื่อนมาทีไร แทนที่จะหาทางแก้ไขด้วยตัวเอง กลับร้องไห้มาร้องขอของวิเศษจากโดเรม่อนทุกครั้งไป และสุดท้าย เรื่องก็จะจบลงด้วย "การใช้ของในทางที่ผิด จนนำภัยมาสู่ตัวเอง" ที่เราจะหัวเราะเวลาโนบิตะใช้ของวิเศษมากไป จนกลายเป็นปัญหาในภายหลังเสมอ (ในทุกตอนเลยครับ)


ผมจึงบอกว่า "ซาตานแอ๊บเนียนแปลงร่างเป็นโดเรม่อน" อย่างไรละครับ นอกจากนี้ยังมีอีกคำหนึ่งครับที่ภายหลังฝรั่งเขาแก้ให้เขียนว่า Santacros ซึ่งจริงๆ แล้วมันมาจากคำว่า Santacross หรือก็คือ คำผวนของ Santa นั่นเอง (cross หมายถึง ผวนคำ ก็ได้ ลองผวนคำว่า ซานต้า มันก็คือ ซาต้าน นั่นเอง) มันหมายถึงอะไร? หมายความว่า คนที่มักมาในรูป "ผู้ให้" นั่นแหละ "ซาตาน" เช่น ฝรั่งบอกจะช่วยประเทศที่กำลังจะพัฒนานะ เขาจะให้ นั่น นี่ โน่น ฯลฯ สารพัดแก่เรา แต่เชื่อเถอะ ไม่มีใครให้เราฟรีๆ หรอก ของฟรีไม่มีในโลก เขาให้เราก็คือ เขาลงทุนเพื่อเก็บเกี่ยวเอากำไรคืนจากเราทีหลัง แล้วเราก็ไม่้ต้องวิ่งโร่ไปเรียกร้อง ขอให้เขาช่วยสนับสนุนอะไรให้เราหรอกครับ (อย่างที่ ซุปเปอร์ฮีโร่แห่งโลกอย่าง อองซาน ทำ) เพราะมันไม่ต่างอะไรกับเด็กน้อยขี้แยอย่าง "โนบิตะ" เลยแม้แต่น้อยนิด รังแต่จะเปิดช่องให้เขาเข้ามาเล่นเราเอาง่ายๆ ในรูป "โดเรม่อน เพื่อนรัก ผู้มีแต่ให้ ผู้แสนดี" อะไรประมาณนั้น ดังนั้น ผมขอวิจารณ์การ์ตูนเรื่อง "โดเรม่อน" นี้ว่า "ดีกว่าผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรท์ทุกเรื่องรวมกัน" ครับ โปรดอย่าคิดว่างานเขียนที่ดี ยอดเยี่ยม ต้องเป็นอะไรที่ยาก เข้าใจยากมาก (แบบต้องเป็นคนฉลาดอ่านรู้เรื่องอ่ะ) หรือเขียนเรื่องการเมืองซ้อนกล ใช้ภาษาโอเวอร์ ซุปเปอร์ยากส์ อะไร หรือเป็นปรัชญาอุดมการณ์บ้าบออะไร โอ้ย มันดูเปลือกนอกเหมือนเ่ก่ง เหมือนดี แต่ขอบอก "สอบตกเรื่องการสื่อสาร" ข้อที่หนึ่งแล้วครับ คือ "สื่อแล้วไม่ค่อยมีใครเขาอยากจะอ่าน" มันก็สอบตกเรื่องการสื่อสารแล้วครับ ผมขอให้คุณไปนั่งดูการ์ตูนที่ฮิตที่สุดยาวนาน เป็นอำมตะเรื่องนี้ดูครับ "โดเรม่อน" ไปดูให้มันลึกซึ้งหน่อยครับว่า "เรื่องนี้ มันไม่มีปรัชญาที่ลึกซึ้งสอนอะไรใครเลยหรือ?" หรือคุณค่าแห่งเนื้อหาสาระของมัน "เทียบคุณค่ากับงานซีไรท์" ไม่ได้จริงๆ น่ะหรือ? ถ้าสมมุติว่า "มีนายกคนหนึ่งในอดีตตอนเป็นเด็กเคยดูโดเรม่อนมา" แล้ววันหนึ่ง ฝรั่งเขาจะให้นั่น โน่น นี่ แล้วเกิดแว้บปิ๊งขึ้นมาได้ว่า "เฮ้ย ของวิเศษที่โดเรม่อนให้ สุดท้ายกลายเป็นภัยนะ" คุณว่ามันมีคุณค่าแค่ไหนกัน? เมื่อเทียบกับงานซีไรท์ที่ดูแล้วโคตรจะยากและไม่อยากจะจำ หนังการ์ตูน, เรื่องผี, เรื่องการ์ตูน มันจะเป็นของที่มีแก่นสาร, ปรัชญา, ธรรม อันลึกซึ้งยิ่งกว่างานเขียนประเภท "อวดตัวว่ามีปรัญชาแบบออกนอกหน้า" เหล่านั้น "ไม่ได้" เสมอไป จริงหรือ? ลองไปนั่งคิดลึกๆๆๆๆๆ ดูกันนะครับ



3 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อั๊ง อัง อัง....โต่ด เต๊ โม กา ตา ซือ อี

โดราเอ ม๊อนนหนี่่่่นี่นี่นี่นี่นี่นี่..........................

Unknown กล่าวว่า...

นั่นสิ ธรรมชาติของมนุษย์มักเป็นแบบนี้ซะด้วยสิ

Unknown กล่าวว่า...

ใช้ภาษาที่มันง่ายแต่ "โดนใจสิ"

แสดงความคิดเห็น