วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

นิยายกำลังภายใน : ประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยนอกตำรา

สำหรับหัวข้อนี้ ผมจะขอใช้หลักการวิจารณ์แบบ "เพชรตัดเพชร" ก็แล้วกัน จะได้มีหลักในการพิจารณานะครับ และไม่มีเจตนาจะเปรียบเทียบผลงานของกิมย้งกับนักเขียนท่านอื่นด้วย เราจะศึกษากันในขอบเขตเฉพาะสิ่งที่เราได้จากนิยายกำลังภายในของกิมย้งเป็นสำคัญครับ โดยผมมองภายใต้สมมุติฐานที่ว่า "ในหนังจีนกำลังภายในของกิมย้ง คือ ประวัติความเป็นมาของประชาธิปไตยภาคประชาชน" นะครับ เอาละ ที่นี้ก่อนที่เราจะเข้าสู่การวิจารณ์ ผมจะขอแนะนำหลักการที่ใช้ในการวิจารณ์ด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ครับ


๑. "มุมของการยอมรับในพระราชอำนาจ" ซึ่งผมจะวิจารณ์จากความเป็นจริงที่ว่า ประชาชนคนจีนสามารถยอมรับ "ราชวงศ์ใหม่ๆ" ได้ง่ายกว่าบางประเทศ เช่น ประเทศไทย ไม่สามารถทำแบบนั้นได้ คนที่เป็นสามัญชน ไม่อาจก่อการแล้วก่อตั้งราชวงศ์ของตนเองได้แบบคนจีน แต่ประเทศจีนสามารถทำได้ จุดนี้เองทำให้เกิดการก่อการของประชาชนอยู่เนืองๆ เมื่อราชวงศ์ใดใกล้ึถึงกาลล่มสลาย

๒. "มุมของความเป็นเชื้อสายชาวฮั่น" ซึ่งนิยายกำลังภายในของกิมย้งเกือบทั้งหมด เป็นเรื่องราวของชาวฮั่นโดยตรง ซึ่งตัวละครส่วนใหญ่ที่เป็นพระเอกล้วนทำเพื่อชาวฮั่น ในขณะที่มีตัวละครอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นตัวโกง เป็นคนเชื้อสายอื่นเช่น มองโกล, แมนจูเรีย, กิมก๊ก เป็นต้น ดังนั้น ขอบเขตการวิจารณ์จึงจำกัดอยู่เฉพาะในยุคของชาวฮั่นตื่นตัวที่จะเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง นั่นเอง

๓. "มุมของกระบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ" ซึ่งในเรื่องคุณอาจมองไม่ออกว่ามันคือการก่อตัวและรวบรวมผู้คนเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง เพราะกิมย้งแนบเนียนมากที่จะไม่บอกออกมาตรงๆ เพราะอะไรละ? ก็ประเทศจีนเป็นคอมมิวนิสต์นะครับ อย่าลืม สื่อบางอย่างจะเปิดเผยมากไปไม่ได้ แต่ถ้าคุณเข้าใจจริงๆ ก็จะทราบได้ทันทีว่าเรื่องราวของนิยายกำลังภายใน มันก็คือการก่อการทางการเมืองนั่นเองครับ

๔. "มุมของการใช้ศาสนาเป็นเครื่องรวมใจ" ซึ่งคุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนมากว่า ก่อนที่พวกเขาจะมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้นั้น พวกเขาจะอาศัย "ศาสนา" เป็นเครื่องรวมใจคนครับ เช่น วัดเส้าหลิน, การก่อตั้งสำนักธรรมลัทธิเต๋าบางลัทธิ เป็นต้น ที่ชัดเจนที่สุดคือ "ง้อไบ้" ซึ่งก้วยเซียงผู้ก่อตั้งยังถูกพวกมองโกลฆ่าตายเลยครับ นั่นแหละ คุณคงเห็นชัดเจนนะครับว่าเขาใช้ศาสนารวมใจคนอย่างไร

๕. "มุมของการหาเครื่องรวมใจประชาชน" ซึ่งคุณจะเห็นชัดมากในหลายๆ เรื่องครับ เช่น การแย่งชิงดาบมังกรหยก, การแย่งชิงตำราพิชัยสงครามของงักฮุย (มังกรหยกภาคหนึ่ง) และถ้าคุณศึกษาประวัติศาสตร์จีนต่อมาอีก คุณจะพบว่าผู้ก่อตั้งราชวงศ์แมนจู ใช้เพียงหินก้อนเดียวรวมใจคนได้? ซึ่งซูสีไทเฮาต้องการได้ครองมาก (ที่เรียกว่า "หยกมังกร") นั่นแหละครับ กุศโลบายที่ใช้เป็นเครื่องรวมใจคนอย่างไรละครับ

๖. "มุมของความสามารถเฉพาะตัวของผู้นำ" ซึ่งทุกเรื่องมุ่งเน้นจุดนี้มากครับ โดยเฉพาะวรยุทธ์ต่างๆ ที่พระเอกของทุกเรื่องจะต้องมีวิชาติดตัวครับ ไม่มีเรื่องไหนที่พระเอกไม่มีวิชาติดตัว บางเรื่องพระเอกอาจฝึกมากและนานหน่อยอย่างเช่น ก้วยเจ๋ง แต่บางเรื่องพระเอกก็เก่งอย่างรวดเร็วฉับพลันไปเลยเหมือนกัน แต่ถึงอย่างไร สุดท้าย พระเอกก็ต้องเก่งครับ ถ้าไม่มีความสามารถติดตัวก็ทำการณ์ใหญ่ไม่ได้ครับ

๗. "มุมของความเสื่อมของราชวงศ์ต่างๆ" ซึ่งสิ่งนี้เป็น "สัจธรรมของโลก" นะครับ ไม่มีอะไรจีรังยั่งยืนไปตลอดได้ เมื่อเกิดขึ้น, เจริญเติบโต แล้วก็ต้องเสื่อมสลายลงไป แม้แต่ราชวงศ์ต่างๆ ที่ว่ายิ่งใหญ่เพียงใดก็ถึงคราวล่มสลายได้เช่นกันครับ คุณจะสังเกตุได้ว่าในนิยายนั้น มีความเกี่ยวข้องกับความเสื่อมของราชวงศ์มาก เช่น คัมภีร์ทานตะวัน ก็ได้มาจากขันทีในวังหลวงเพราะความเสื่อมไปของราชวงศ์ถัง


ผมขอเปิดเวทีให้ท่านทั้งหลายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเสรีครับ ในประเด็นทั้ง ๗ ประเด็นนี้ หรือมากกว่านั้นก็ได้ครับ แต่เพื่อให้ง่ายและไม่ออกนอกขอบเขตมากเกินไป ผมจะขอใช้หลักจากประเด็นทั้ง ๗ เป็นเบื้องต้นในการวิจารณ์วรรณกรรมอำมตะของกิมย้ง และหนังจีนกำลังภายในที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งเราควรเข้าใจเป็นเบื้องต้นด้วยนะครับว่าการวิจารณ์นั้น จะมีขีดจำกัดมากมาย เช่น เราไม่รู้ข้อเท็จจริงที่แท้จริงในอดีต ซึ่งกลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว หลายอย่างก็ไม่ไ่ด้รับการบันทึกไว้ตามหน้าประวัติศาสตร์ระดับประ้เทศนะครับ หลายคนที่เป็นวีรบุรุษ สร้างคุณงามความดีเอาไว้ กลายเป็นเพียง บุคคลในตำนาน เป็นเพียงตัวละครในนิทานเท่านั้น จนคนรุ่นหลังดูถูกดูแคลน และหัวเราะเยาะเอาเมื่อเห็นใครบ้าหนังจีน หรือเชื่อว่ามันเป็นเรื่องจริง เพราะเขารับรู้และเห็นสิ่งเหล่านี้ ผ่านสื่อทีวีและละคร เขาจึุงไม่คิดว่าสิ่งเหล่านี้ จะมีรากฐานมาจากความจริงอะไรได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าใจคลาดเคลื่อนไปมากนะครับ เอาละ ผมขอเปิดประเด็นให้เกิดการวิจารณ์เรื่อง "หนังจีนกำลังภายใน กับ การเคลื่อนไหวของประชาธิปไตยในประเทศจีน" ให้ท่านทั้งหลาย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่ เชิญครับ ...

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น